สาระภูมิศาสตร์

“ภูมิศาสตร์” ศาสตร์กับภารกิจช่วย 13 ชีวิตในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ตอน 5

บทสรุป : ภูมิศาสตร์ศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนภารกิจช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

สารบัญ

ประชากรวัยพึ่งพิง (วัยเด็กรวมกับวัยสูงอายุ)

 

จากรูปที่ 7 แสดงจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงแต่ละจังหวัดของประเทศไทย พบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา อุบลราชธานี เชียงใหม่ ขอนแก่น และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการกระจายและกระจุกตัวของข้อมูลในพื้น พบว่ากลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมาก จะมีเพียงกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด(นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และอุดรธานี)เท่านั้นที่กระจุกตัวต่อเนื่อง 

สำหรับอันดับของจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงจังหวัดต่าง ๆ พบว่ากลุ่มที่ประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมากส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดย 10 อันดับแรก ประกอบด้วย 

หากพิจารณาจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงโดยเทียบเป็นร้อยละกับจำนวนประชากรทั้งหมดของจังหวัดแล้วนำข้อมูลมาจัดกลุ่มเป็น 3 กลุ่มโดยให้กลุ่มที่มีค่าข้อมูลใกล้เคียงกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันตามรูปที่ 8 จะพบว่ากลุ่มที่มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดจะมี 3 กลุ่มใหญ่ในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ นอกจากนั้นจะกระจายตัวออกไปไม่เกาะกลุ่มชัดเจน ได้แก่ จังหวัดนครนายก สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช พัทลุง  

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจำนวนประชากรวัยเด็ก วัยสูงอายุ วัยแรงงาน หรือวัยพึ่งพิงก็ตาม ลักษณะการเกิดการมีอยู่ของจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่หากพิจารณาให้ความสำคัญของประชากรแต่ละกลุ่มในแต่ละประเด็นแล้ว (เช่น การให้ความสำคัญต่อประชากรวัยสูงอายุเนื่องจากการเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุ) คงต้องมีข้อมูล หลักเกณฑ์ต่าง ๆ หลักกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับมาพิจารณาประกอบอีกมากมาย ซึ่งในมุมนักภูมิศาสตร์แล้ว การนำเสนอข้อเท็จจริงเชื่อมโยงกับพื้นที่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้เกิดมุมมองและแง่คิดที่ชัดเจนขึ้นในอีกมิติหนึ่ง

อนึ่ง เมื่อพิจารณาให้ความสำคัญของประชากรแต่ละกลุ่มในแต่ละประเด็นและเจาะลึกลงไปในแต่ละพื้นที่แล้ว ในมิติทางภูมิศาสตร์คงต้องมีการนำเสนอข้อมูลด้านสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ การตั้งถิ่นฐาน ตลอดจนมิติทางสังคมอื่นๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนแปลงซึ่งจะได้นำเสนอในตอนต่อ ๆ ไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภูมิศาสตร์เมือง Urban Geography (GEO 3409)” สอนที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เนื้อหาครอบคลุมการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์เมือง ความเป็นเมืองและกระบวนการกลายเป็นเมือง การวัดค่าความเป็นเมือง การจำแนกประเภทของเมือง เขตอิทธิพลเมือง แหล่งกลาง ระบบการใช้ที่ดินในเขตชุมชนเมือง

    อ่านเพิ่มเติม...
JSN Epic is designed by JoomlaShine.com