ผ่าช่อ สภาพภูมิสัณฐานที่เห็นเป็นชั้นดินและหินแยกออกเป็นชั้นๆ เขาว่าเป็น แกรนด์แคนยอนเมืองไทย

"The geological formation, characterized by layers of soil and rock, is referred to as the Grand Canyon of Thailand."

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • จากบทความ พระราชดำรัสสมเด็จพระราชินี "แผนที่" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ใน www.posttoday.com เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559 บางส่วน

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • บทสรุป : ภูมิศาสตร์ศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนภารกิจช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

    อ่านเพิ่มเติม...

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

แผ่นดินถล่ม (Landslide) ภัยพิบัติในไทยที่มากับฤดูฝน

 แผ่นดินถล่ม (Landslide) เป็นขบวนการเกิดเป็นการเคลื่อนที่ของแผ่นดินและวัตถุต่าง ๆ บนพื้นดิน การเคลื่อนที่จะเคลื่อนบนพื้นที่ลาดโดยอาจจะมีน้ำหรือความชื้นเป็นตัวหล่อลื่น ปรากฏการณ์แผ่นดินถล่มเป็นกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นดินที่ถล่มตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเนื่องจากเกิดการเสียความสมดุลในการทรงตัว ทำให้มีการปรับตัวไหลลงมาตามแรงดึงดูดของโลก โดยทั่วไปแผ่นดินถล่มมักจะเกิดเวลามีฝนตกมากบริเวณภูเขา ซึ่งดินภูเขาต้องอุ้มนำไว้ ดินชั้นล่างมีการไหลซึมของน้ำช้ามาก ดินชั้นบนไม่เกาะกันเพราะอิ่มตัวด้วยน้ำ ประกอบกับมีความลาดเทในพื้นที่ระดับหนึ่งจึงจึงเกิดการพังหรือถล่มลงมา

 

การเกิดแผ่นดินถล่มจะประกอบด้วย 4 ลักษณะของการถล่มคือ

1.       การตก (Falls) เป็นการหลุดออกจากที่ชันสูงและตกลงมาเป็นก้อนหรือมวลขนาดใหญ่

2.       การล้มหรือคว่ำของมวล (Topples) เป็นการล้มคว่ำหรือหมุนม้วนไปข้างหน้าทั้งก้อน

3.       การไถล (Slides) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลไปบนผิวชนิดใดชนิดหนึ่งเช่นผิวโค้ง ผิวเรียบ

4.       การไหล (Flows) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลตามแนวลาดชันโดยมีน้ำเป็นตัวช่วยให้เคลื่อน

ปัจจัยและองค์ประกอบการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินถล่ม ประกอบด้วย

1.       ลักษณะภูมิประเทศ เช่น ความลาดชัน ความยาวของความลาดชัน ระดับความสูงของพื้นที่

2.       ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา  เช่นองค์ประกอบของหินและดิน

3.       ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งจะมีผลต่อการปกคลุมพื้นดิน

4.       ลักษณะภูมิอากาศ เช่นปริมาณฝน

แนวทางการบรรเทาภัยจากการเกิดแผ่นดินถล่ม

                   ตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์ การป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินถล่มสามารถจำแนกตามพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงภัยแตกต่างกันควรจะทำการวิเคราะห์พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม ในการวิเคราะห์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มทั้ง 4 ปัจจัยข้างต้น เทคนิคในการวิเคราะห์จะใช้แผนที่ที่แสดงจุดที่เกิดแผ่นดินถล่ม นำมาเปรียบเทียบโดยซ้อนทับกับแผนที่ที่แสดงปัจจัยการเกิดแผ่นดินถล่มเพื่อพิจารณารายละเอียดและวิเคราะห์ศักยภาพที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัยที่จะทำให้เกิดแผ่นดินถล่มซึ่งทำให้ทราบว่าบริเวณที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพื้นที่ที่เคยเกิดแผ่นดินถล่มเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคนิควิธีการด้านการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งาน ทำให้สามารถวิเคราะห์พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มได้ชัดเจนขึ้น

                   เมื่อรู้พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มในระดับต่าง ๆ แล้ว สามารถกำหนดแนวทางในการป้องกันและบรรเทาการเกิดแผ่นดินถล่มได้โดยแยกเป็นมาตรการในแต่ละระยะดังนี้

มาตรการระยะยาวเพื่อจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม  ได้แก่

1.       การกำหนดเขตการใช้ที่ดินอย่างชัดเจน

2.       การกำหนดกฎระเบียบและข้อกำหนดในการจัดการพื้นที่

3.       การจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินถล่ม

4.       การปลูกพืชคลุมดินที่เหมาะสม โตเร็ว

5.       การส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการป้องกันและบรรเทาการเกิดแผ่นดินถล่ม

6.       การติดตามสถานการณ์ข่าวพยากรณ์อากาศ

 

มาตรการระยะสั้นหรือมาตรการเร่งด่วนเพื่อจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม  ได้แก่

1.       การกำหนดเขตพื้นที่ที่เป็นอันตรายจากการเกิดแผ่นดินถล่ม

2.       การวางมาตรการและกำหนดวิธีการจัดการพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม

3.       เร่งดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม

4.       จัดตั้ง อบรมและให้ความรู้แก่หน่วยบรรเทาสาธารณภัย

5.       เร่งดำเนินการย้ายชุมชนที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มสูง

6.       หาวิธีหรือแนวทางในการจัดทำและติดตั้งระบบเตือนภัย

                               สำหรับในประเทศไทยพบบริเวณที่เกิดแผ่นดินถล่มอยู่จำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณที่เป็นภูเขา เมื่อฝนตกหนักเกิดการถล่มของดินน้ำจะพัดพาเอาดินเหล่านั้นไปตามลำน้ำ ร่องเขาออกสู่ปากแม่น้ำ ไหลลงสู่ที่ราบ สู่ชุมชนทำให้เกิดความเสียหาย  แผ่นดินถล่มจะพบชัดเจนและเกิดความเสียหายได้แก่บริเวณบริเวณภาคใต้  เช่น เมื่อวันที่ 5-6 .. 2518 ภูเขาถล่มที่ ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้บ้านเรือนพัง 85 หลัง เสียชีวิต 24 คน สูญหาย 35 คน และ เมื่อวันที่ 26 พ.ย. – 4 ธ.ค. 2531 ที่ ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน  จังหวัดนครศรีธรรมราช ภูเขาถล่ม น้ำพัดพาเอาดิน ต้นไม้มากระแทกทับบ้านเรือนทำให้เสียหาย 2621 หลัง คนเสียชีวิต 236 คน สูญหาย 305 คน เป็นต้น

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • มนุษย์พยายามบอกเล่าปรากฏการณ์บนพื้นพิภพเป็นภาษา Cartographic Map

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ในการสร้างหรือแก้ไขชั้นข้อมูลในระบบ GIS สิ่งที่ต้องระวังและควรรับรู้ก็คือที่มาของแผนที่ฐาน เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบ Digital การย่อ ขยายเพื่อปรับแก้ข้อมูลทำได้ง่ายแต่คลาดเคลื่อนผิดพลาดตามค่าตั้งต้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ากมอง GIS ในฐานะเครื่องมือแล้ว GIS จะประกอบด้วย Hardware Software Data Information Network Application และ Peopleware หากแต่ผลผลิตของ GIS คือสารสนเทศ (Information) ซึ่งลักษณะเด่นคือ สารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information)

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้193
เมื่อวานนี้385
สัปดาห์นี้193
เดือนนี้3157
ทั้งหมด1464084
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 7

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com