มาเล่นสงกรานต์ถึงเชียงใหม่ คิดถึงวันเก่า ๆ ที่ใส่เสื้อม่อฮ่อมเล่นสาดน้ำรอบเมือง

Songkran festival in Chiang Mai, reminiscing about the old days when we wore the traditional 'moh hom' shirt, splashing water around the city.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • นักภูมิศาสตร์สมัยใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

มีโอกาสได้อ่านร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 เห็นแผนกลยุทธ์รายหมุดหมายที่พอเข้าใจแบบเป็นรูปธรรมได้ เช่น

- ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง

- ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน

- ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก

- ไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง

- ฯลฯ

เมื่อพิจารณาข้างต้นจะพบว่าเราต้องเตรียมแรงงานจำนวนมากและต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพเพื่อรองรับหมุดหมายที่กำหนดไว้ (จะใช้ Robot เข้ามาแทนแรงงานมนุษย์คงไม่ได้ทั้งหมด)

จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นข้อมูลประชากรกลางปี พ.ศ. 2565 เมื่อนำมาแสดงเป็นโครงสร้างประชากร (รูปที่ 1) พบว่า

(รูปที่ 1)

ประชากรทั้งชายและหญิงในวัยเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณ 10 ล้านคน) กับกลุ่มที่เป็นวัยชราหรือสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 12 ล้านคน) ซึ่งถือว่าเป็นวัยพึ่งพิงจะมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับวัยแรงงาน โดยเฉพาะถ้าว่าวัยแรงงานเป็นประชากรที่มีช่วงอายุ 15-59 ปี ซึ่งมีจำนวนประมาณ 42 ล้านคน ยังนับว่าเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ แต่หากพิจารณาว่าปัจจุบันกลุ่มเยาวชน ซึ่งอายุ 15-24 ปีส่วนใหญ่มุ่งที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาแล้ว ประชากรวัยแรงงานจริง ๆ กลายเป็นกลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 25-60 ปี ซึ่งจำนวนจะลดน้อยลง โดยจะหายไปประมาณ 8 ล้านคนเหลือวัยแรงงานเพียง 34 ล้านคน ในขณะที่ประชากรวัยพึงพิงจะมีประมาณ 30 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับประชากรวัยแรงงานอย่างมาก

 

หากนำข้อมูลประชากรในปี พ.ศ. 2556  พ.ศ. 2560 และ เดือนมิถุนายน ปี 2565 มาทำโครงสร้างอายุเปรียบเทียบกันแล้ว (รูปที่ 2) พบว่า

(รูปที่ 2)

 

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 ประชากรวัยเด็กและเยาวชน (อายุ 0-14 ปีลงมา) และประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ทั้งชายและหญิงจะค่อย ๆ ลดลง ในขณะที่ประชากรวัยชรา (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะ ขยับเพิ่มขึ้นชัดเจน และหากพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่า กลุ่มประชากรวัยแรงงานที่อยู่ในช่วงอายุ 30-44 ปี จะมีจำนวนค่อย ๆ ลดลง และจำนวนประชากรวัยแรงงานที่อยู่ในช่วงอายุ 45-49 ปี จะค่อนข้างคงที่ และจำนวนจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป

 

อธิบายให้เห็นภาพรวมชัด ๆ คือ แผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูแสดงข้อมูลประชากร ปี 2565 แผนภูมิที่เป็นเส้นสีเขียวแสดงข้อมูลประชากร ปี 2560 และแผนภูมิที่เป็นเส้นสีแดงแสดงข้อมูลประชากร ปี 2556

 

- ช่วงวัยเด็กแผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูสั้นกว่าเส้นสีเขียวและเส้นสีแดง แสดงว่าประชากรวัยเด็กลดลงจากปี 2556, 2560 และ 2565 ตามลำดับ

 

- ช่วงวัยวัยแรงงานช่วงอายุ 30-45 ปี แผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูสั้นกว่าเส้นสีเขียวและเส้นสีแดง แสดงว่าประชากรวัยแรงงานลดลงจากปี 2556, 2560 และ 2565 ตามลำดับเช่นกัน

 

- ในขณะที่วัยแรงงานบางส่วน(อายุ 50-59 ปี) และวัยชรา(อายุ 60 ปีขึ้นไป) แผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูยาวกว่าเส้นสีเขียวและเส้นสีแดง แสดงว่าประชากรวัยแรงงานบางส่วนและประชากรวัยชราเพิ่มขึ้นจากปี 2556, 2560 และ 2565 ตามลำดับ

ทั้งนี้เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคของ สังคมผู้สูงวัย และหากจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้บรรลุกลยุทธ์รายหมุดหมายตามร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แล้ว การพัฒนาแรงงานที่มีคุณภาพสูงอย่างเร่งด่วนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่ประชากรวัยชราและประชากรวัยเด็กซึ่งเป็นประชากรวัยพึ่งพิงต้องการการเลี้ยงดูและดูแลจากวัยแรงงาน ในสภาวะที่ประชากรวัยเด็ก”ลดลง "วัยชรา"เพิ่มขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ขณะนี้ประเทศไทยมีประชากร วัยแรงงาน และวัยพึ่งพิงอยู่เท่าไร ที่ไหนบ้าง ต้องดูแลและพัฒนากันอย่างไร   

 

 

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจที่มาของระบบ GIS รวมทั้ง Spatial data เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยแผนที่ระบบเดิม โดยมีกิจกรรมแทรกประกอบ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยขาดความรู้พื้นฐานทางด้านพื้นที่แล้ว ข้อมูลพื้นที่ที่ได้จากระบบสารสนเทศจะเชื่อถือได้อย่างไร หากกระจายข้อมูลเหล่านั้นออกไปจะเกิดอะไรขึ้น 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อใช้โปรแกรมระบบ GIS การกำหนดประเภทของ Feature จะเริ่มที่การสร้างชั้นข้อมูลซึ่งหลักการควรพิจารณาดังนี้

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้422
เมื่อวานนี้478
สัปดาห์นี้900
เดือนนี้3864
ทั้งหมด1464791
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 12

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com