การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลังจากเปลือกโลกยกตัวขึ้นก็เกิดขบวนการกัดเซาะของน้ำมีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ

    After the earth's crust uplifts, erosion processes occur, developing into three age stages.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

 เมื่อพิจารณากล่าวถึงคำว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นเพียง "เทคนิควิธีการ" ในแนวคิดในการศึกษาภูมิศาสตร์แล้วนั้น การศึกษาทางด้านพื้นที่ผู้ใช้เครื่องมือ GIS ควรเข้าใจหลัก 3 ประการที่นักภูมิศาสตร์ศึกษาเชิงพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย คุณสมบัติเชิงพื้นที่ ปรากฏการณ์เชิงพื้นที่ และแนวคิดเชิงพื้นที่พื้นที่

 คุณสมบัติเชิงพื้นที่คืออะไร

 คุณสมบัติเชิงพื้นที่ : หากจะอธิบายคุณสมบัติเชิงพื้นที่ให้ชัดเจนสามารถอธิบายได้หลากหลายแง่มุมขึ้นอยู่กับการมุ่งประโยชน์ว่าจะอธิบายเพื่ออะไร สำหรับการอธิบายเพื่อนำไปประกอบกระบวนการทำงานในระบบ GIS ไม่ว่าจะในกระบวนการออกแบบฐานข้อมูล การรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล หรือการนำเอาข้อมูลไปใช้งานในด้านต่างๆ แล้ว สิ่งที่พบคือ คำที่บ่งบอกคุณสมบัติเชิงพื้นที่ซึ่งกลุ่มคำเหล่านั้นประกอบด้วย

 

1. Place : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกสถานที่ที่แสดงพื้นที่ที่กว้างขวาง

 

2. Location : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่

 

3. Node : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่แต่แสดงคุณสมบัติการเป็นศูนย์รวม ศูนย์กลางการเชื่อมต่อ

 

4. Distance : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกขนาดที่เป็นความยาวหรือมีระยะทาง

 

5. Surface : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกลักษณะของพื้นผิว

 

6. Shape : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกรูปร่างของพื้นที่

 

7. Size : เป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกขนาดของพื้นที่

   

คำถามที่สำคัญคือ รู้ไปเพื่ออะไร

 หากจะตอบคงจะอธิบายได้ไม่ชัดเจนเท่ากับยกตัวอย่างกรณีศึกษาต่อไปนี้

 - เมื่อพิจารณาแผนที่ท่องเที่ยวเราจะเห็น สนามหลวง ภูเขาทอง ถนนข้าวสาร ย่าน RCA ภูกระดึง กว้านพะเยาว์ เกาะภูเก็ต เกาะสิมิรัน เกาะช้าง หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ และอื่นๆ ในรูปแบบที่ตั้ง สำหรับนักภูมิศาสตร์ เมื่อศึกษาในขั้นตอนสำรวจ นำเข้าข้อมูล แสดงผลข้อมูลเป็นแผนที่ วิเคราะห์เพื่อคำนวณระยะทางและเวลาจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เราจะอ้างอิงแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ด้วยคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่เป็น Location ซึ่งเป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่เท่านั้น

 

- เมื่อพิจารณาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็น Location ในรายละเอียดที่ปรากฏในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เช่น มีจุดสนใจทางธรรมชาติอะไรบ้าง เราอาจจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ของ ภูกระดึง กว้านพะเยาว์ เป็น Place แทน

 

- เมื่อศึกษาในประเด็นการเป็นศูนย์รวม ศูนย์กลางการเชื่อมต่อคุณสมบัติเชิงพื้นที่ของ สนามหลวง ภูเขาทอง ก็อาจจะกลายเป็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Node แทน Location 

 

- เมื่อมองแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งในรายละเอียด เช่น  หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ เราจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Shape แทน Location

 

- เมื่อต้องการเดินเที่ยวในบางแหล่งท่องเที่ยว เช่น  ถนนข้าวสาร ย่าน RCA หาดชะอำ หาดเจ้าสำราญ เราจะเห็นคุณสมบัติเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Distance แทน Location เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวมีพื้นที่เป็นแนวยาว

  

เมื่อทราบเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา หรือเมื่อมีเป้าหมายการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์แล้ว การออกแบบฐานข้อมูลในระบบ GIS ทั้งในส่วนที่เป็น Graphic และ Attribute จึงจำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้และศึกษาจากแนวคิดของนักภูมิศาสตร์

 ...........................................................................................................................................................................   

 ตอนต่อไปเราจะเรียนรู้แนวคิดการศึกษาเชิงพื้นที่ของนักภูมิศาสตร์ในส่วนของปรากฏการณ์เชิงพื้นที่และแนวคิดเชิงพื้นที่ ต่อไป

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มนุษย์พยายามบอกเล่าปรากฏการณ์บนพื้นพิภพเป็นภาษา Cartographic Map

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว

    พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว

    และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักแผนที่และนักสำรวจจะต้องปรับตัวเมื่อตำแหน่งมือถือปรากฏบนแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียมในหน้าจอมือถือได้ถูกต้อง

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้299
เมื่อวานนี้425
สัปดาห์นี้1140
เดือนนี้12074
ทั้งหมด1428294
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 22

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com