การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อ่านเพิ่มเติม...
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ถูกบรรจุเนื้อหาไว้ในวิชาเรียนในระดับมัธยมศึกษา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ติดตามสถานการณ์ภารกิจช่วยเหลือเด็ก ๆ หายและเริ่มต้นการค้นหา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เดิมนักภูมิศาสตร์มุ่งศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากกว่าเชิงปริมาณ (Quantitative) ผลงานของนักภูมิศาสตร์จึงเป็นงานด้านการบรรยายเป็นหลัก ในการยอมรับจึงเป็นไปน้อยเพราะเชื่อกันว่าการศึกษาเชิงคุณภาพขาดความถูกต้องและเที่ยงตรง ในภายหลังนักภูมิศาสตร์จึงสนใจศึกษาเชิงปริมาณมากขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...

ให้เรตสมาชิก: 3 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 

  การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 1 การอ่านค่าพิกัด UTM

 ในการศึกษาหรืองานที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ไม่ว่าจะวิชาหรืองานใดๆ ก็ตาม สิ่งจำเป็นและต้องเข้าใจคือการใช้แผนที่ โดยเฉพาะในประเทศที่เจริญแล้ว การใช้แผนที่จะเป็นเนื้อหาวิชาที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนให้กับเด็กเล็กๆ จนกระทั้งในระดับอุดมศึกษา ซึ่งจะสังเกตได้ว่า นักท่องเที่ยวที่มาจากยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะสามารถใช้และอ่านแผนที่เป็น

แม้ว่าในปัจจุบันแผนที่จะถูกนำมาจัดเก็บและใช้งานผ่านระบบคอมพิวเตอร์แล้ว สำหรับการเดินทาง การสำรวจในบางพื้นที่หรือบางข้อจำกัดในการศึกษาทางพื้นที่ แผนที่กระดาษก็มีความจำเป็น โดยเฉพาะแผนที่ในคอมพิวเตอร์ที่นำข้อมูลจากแผนที่กระดาษมาจัดเก็บเข้าสู่ระบบแล้ว ข้อจำกัดและความคลาดเคลื่อนในการใช้งานย่อมมีอยู่เสมอ แม้เครื่องมือที่ใช้จะทันสมัยก็ตาม ผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าใจข้อจำกัดนั้นๆ ด้วย เครื่อง GPS บางรุ่นเมื่อต้องวัดค่าตำแหน่งหรือความสูง ความคลาดเคลื่อนบางครั้งไม่สามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่น เมื่อเดินทางเข้าไปในป่า การสำรวจทางน้ำหรือค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเล บางครั้งอาจจะคลาดเคลื่อนได้เป็นระยะถึง 100 เมตร เป็นต้น

ในการอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50000 ตอน 1 จะกล่าวถึงการอ่านค่าพิกัดจากเส้นกริดระบบพิกัด UTM

 จากภาพข้างต้นจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1 : 50000 จะสังเกตได้ว่ามุมล่างซ้ายจะมีตัวเลขกำกับไว้ 2 ค่า คือ ค่าละติจูด และค่าลองจิจูด ซึ่งจะมีหน่วยวัดเป็น องศา ลิปดา พิลิปดา โดยค่าดังกล่าวจะเป็นค่าของมุมล่างซ้ายของแผนที่ระวาง (Sheet) นั้นๆ สำหรับค่าพิกัด UTM ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเมตรนั้น ค่าที่ปรากฏจะกำกับเส้นกริดแนวตั้งและแนวนอน จากภาพจะพบว่า           

 เส้นกริดแนวตั้ง

 เส้นกริดแนวตั้งเส้นแรกจะมีค่ากำกับคือ 553000 m.E.

เส้นกริดแนวตั้งเส้นที่2 จะมีค่ากำกับคือ 54 ซึ่งมีค่าจริง คือ 554000 m.E. (ใช้หลักที่ 2และ3 มากำกับที่เส้น)

 เส้นกริดแนวตั้งเส้นที่3 จะมีค่ากำกับคือ 55 ซึ่งมีค่าจริง คือ 555000 m.E. (ใช้หลักที่ 2และ3 มากำกับที่เส้นเช่นกัน)

 เส้นกริดแนวตั้งเส้นที่ 4, 5, 6, … ก็จะมีลักษณะเดียวกัน

 จะสังเกตได้ว่าเส้นกริดแนวตั้งแต่ละเส้นจะห่างกัน 1000 m. (เกิดจากคำนวณระยะห่างจากค่าของเส้นกริด เช่น ระยะห่างของเส้นกริดแนวตั้งเส้นที่3 กับเส้นกริดแนวตั้งเส้นที่2 คือ 555000 m.E. - 554000 m.E. = 1000 m. หากแบ่งระยะระหว่างเส้นกริดออกเป็น 10 ส่วนเท่าๆกัน แต่ละส่วนก็จะมีระยะเท่ากับ 100 m.)

 

เส้นกริดแนวนอน

 เส้นกริดแนวนอนเส้นแรกจะมีค่ากำกับคือ 2129000 m.N.

 เส้นกริดแนวนอนเส้นที่2 จะมีค่ากำกับคือ 2130 ซึ่งมีค่าจริง คือ 2130000 m.N. (ใช้หลักที่ 1,2,3และ4 มากำกับที่เส้น)

 เส้นกริดแนวนอนเส้นที่3 จะมีค่ากำกับคือ 31 ซึ่งมีค่าจริง คือ 2131000 m.N. (ใช้หลักที่ 3และ4 มากำกับที่เส้น)

 เส้นกริดแนวนอนเส้นที่4 จะมีค่ากำกับคือ 32 ซึ่งมีค่าจริง คือ 2132000 m.N. (ใช้หลักที่ 3และ4 มากำกับที่เส้นเช่นกัน)

 เส้นกริดแนวนอนเส้นที่ 5, 6, 7, … ก็จะมีลักษณะเดียวกับเส้นกริดแนวนอนเส้นที่ 3 และ 4

 จะสังเกตได้ว่าเส้นกริดแนวนอนแต่ละเส้นจะห่างกัน 1000 m. (เกิดจากคำนวณระยะห่างจากค่าของเส้นกริด เช่น ระยะห่างของเส้นกริดแนวนอนเส้นที่3 กับเส้นกริดแนวนอนเส้นที่2 คือ 2131000 m.N. - 2130000 m.E. = 1000 m. หากแบ่งระยะระหว่างเส้นกริดออกเป็น 10 ส่วนเท่าๆกัน แต่ละส่วนก็จะมีระยะเท่ากับ 100 m.)

การอ่านค่าพิกัด

  

 เมื่ออ่านค่าพิกัดของเส้นกริดเส้นแรกที่แนวตั้งและแนวนอน จะอ่านได้ คือ x = 553000 และค่า y = 2129000 หรือ (x,y) = (553000,2129000)

 หากจะอ่านละเอียดขึ้นเราสามารถแบ่งระยะระหว่างเส้นกริดออกเป็น 10 ส่วนเท่าๆกัน แต่ละส่วนก็จะมีระยะเท่ากับ 100 m. ได้ตามที่กล่าวมาแล้ว

 จากภาพเมื่อแบ่งระยะระหว่างเส้นกริดออกเป็น 10 ส่วนเท่าๆกัน เราสามารถอ่านตำแหน่งพิกัดโรงเรียนบ้านหม้อตามระบบพิกัด UTM ได้ คือ (554100,2131100)

เราจะสังเกตได้ว่า หากใช้ Mobile หรือเครื่อง GPS แบบมือถือ หรือแผนที่ในระบบของ Google Map ฯลฯ แล้วอ่านค่าพิกัด UTM จะปรากฏค่าพิกัดในลักษณะข้างต้น อย่างไรก็ตาม ค่าพิกัดดังกล่าวจะมีความคลาดเคลื่อนแฝงอยู่ ในบางครั้งอาจจะคลาดเคลื่อนถึง 100-1000 เมตร

ดังนั้นเมื่ออ่านค่าจากโปรแกรม GIS ผู้ใช้ต้องเข้าใจหรือรับรู้ที่มาของชั้นข้อมูลแผนที่นั้นๆ ว่ามีความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลอย่างไร จะนำไปใช้กับงานอะไร ยอมรับได้หรือไม่  เช่น การวัดตำแหน่งที่ตั้งหมู่บ้าน การอ่านค่าพิกัดที่กลางหมู่บ้าน หรือท้ายหมู่บ้าน ค่าพิกัดที่ได้จะไม่เท่ากัน แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ผู้ใช้ข้อมูลสามารถเข้าไปสู่หมู่บ้านนั้นๆได้โดยไม่ผิดพลาด หากต้องการความแม่นยำที่มากขึ้นแล้ว นอกจากจำเป็นต้องใช้แผนที่ที่มีความละเอียดในมาตราส่วนใหญ่ขึ้น หรือต้องใช้เครื่อง GPS ที่มีความละเอียดสูงหรือต้องนำค่าไปเทียบกับค่า Base Station แล้ว การกำหนดมาตรฐานการวัดค่าพิกัดก็มีความจำเป็น เช่น การวัดค่าพิกัดโรงเรียน ที่ว่าการอำเภอ หรือสถานที่ราชการอื่น ๆ ให้วัดค่าพิกัดที่ตำแหน่งเสาธง เป็นต้น

 

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 2 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/256-contour-2

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 3 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/255-profile-contour-2

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...

  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากเป็นผู้ใช้หรือผู้ผลิตแผนที่ต้องรับรู้และเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวาง รายละเอียดประจำขอบระวางที่ดีจะช่วย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
  • ากมอง GIS ในฐานะเครื่องมือแล้ว GIS จะประกอบด้วย Hardware Software Data Information Network Application และ Peopleware หากแต่ผลผลิตของ GIS คือสารสนเทศ (Information) ซึ่งลักษณะเด่นคือ สารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อปรากฏการณ์บนพื้นโลกถูกแสดงเป็นแผนที่ทั้งในรูป Hard Copy (กระดาษ, แผ่นผ้า, พลาสติก ฯลฯ) และ Soft Copy (Digital Map) ปัจจุบันเราจะรับรู้ว่ามีการจัดเก็บในระบบ GIS ในรูป Feature ที่เป็น Graphic data และ Attribute data  

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อรู้จัก ลักษณะปรากฏการณ์ที่ (Feature) กำหนดชนิดของข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้ว การนำค่าข้อมูลที่เป็น Attribute data มาจำแนกและแสดงผลในรูปแผนที่หรือบางคนเรียกว่าส่วนที่เป็น Graphic data เป็นสิ่งที่จำเป็น  

    อ่านเพิ่มเติม...
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้147
เมื่อวานนี้425
สัปดาห์นี้988
เดือนนี้11922
ทั้งหมด1428142
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 15

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com