ผ่าช่อ สภาพภูมิสัณฐานที่เห็นเป็นชั้นดินและหินแยกออกเป็นชั้นๆ เขาว่าเป็น แกรนด์แคนยอนเมืองไทย

"The geological formation, characterized by layers of soil and rock, is referred to as the Grand Canyon of Thailand."

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อ่านเพิ่มเติม...
  • ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

    Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    นักภูมิศาสตร์ควรเรียนรู้และศึกษาภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในพื้นที่โดยมุ่งเน้นศึกษาศึกษาเกี่ยวกับโลกในมิติของพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ภูมิศาสตร์เมือง Urban Geography (GEO 3409)” สอนที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เนื้อหาครอบคลุมการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์เมือง ความเป็นเมืองและกระบวนการกลายเป็นเมือง การวัดค่าความเป็นเมือง การจำแนกประเภทของเมือง เขตอิทธิพลเมือง แหล่งกลาง ระบบการใช้ที่ดินในเขตชุมชนเมือง

    อ่านเพิ่มเติม...

ให้เรตสมาชิก: 4 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 

  การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 1 การอ่านค่าพิกัด UTM

 ในการศึกษาหรืองานที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ไม่ว่าจะวิชาหรืองานใดๆ ก็ตาม สิ่งจำเป็นและต้องเข้าใจคือการใช้แผนที่ โดยเฉพาะในประเทศที่เจริญแล้ว การใช้แผนที่จะเป็นเนื้อหาวิชาที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนให้กับเด็กเล็กๆ จนกระทั้งในระดับอุดมศึกษา ซึ่งจะสังเกตได้ว่า นักท่องเที่ยวที่มาจากยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะสามารถใช้และอ่านแผนที่เป็น

แม้ว่าในปัจจุบันแผนที่จะถูกนำมาจัดเก็บและใช้งานผ่านระบบคอมพิวเตอร์แล้ว สำหรับการเดินทาง การสำรวจในบางพื้นที่หรือบางข้อจำกัดในการศึกษาทางพื้นที่ แผนที่กระดาษก็มีความจำเป็น โดยเฉพาะแผนที่ในคอมพิวเตอร์ที่นำข้อมูลจากแผนที่กระดาษมาจัดเก็บเข้าสู่ระบบแล้ว ข้อจำกัดและความคลาดเคลื่อนในการใช้งานย่อมมีอยู่เสมอ แม้เครื่องมือที่ใช้จะทันสมัยก็ตาม ผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าใจข้อจำกัดนั้นๆ ด้วย เครื่อง GPS บางรุ่นเมื่อต้องวัดค่าตำแหน่งหรือความสูง ความคลาดเคลื่อนบางครั้งไม่สามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่น เมื่อเดินทางเข้าไปในป่า การสำรวจทางน้ำหรือค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเล บางครั้งอาจจะคลาดเคลื่อนได้เป็นระยะถึง 100 เมตร เป็นต้น

ในการอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50000 ตอน 1 จะกล่าวถึงการอ่านค่าพิกัดจากเส้นกริดระบบพิกัด UTM

 จากภาพข้างต้นจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1 : 50000 จะสังเกตได้ว่ามุมล่างซ้ายจะมีตัวเลขกำกับไว้ 2 ค่า คือ ค่าละติจูด และค่าลองจิจูด ซึ่งจะมีหน่วยวัดเป็น องศา ลิปดา พิลิปดา โดยค่าดังกล่าวจะเป็นค่าของมุมล่างซ้ายของแผนที่ระวาง (Sheet) นั้นๆ สำหรับค่าพิกัด UTM ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเมตรนั้น ค่าที่ปรากฏจะกำกับเส้นกริดแนวตั้งและแนวนอน จากภาพจะพบว่า           

 เส้นกริดแนวตั้ง

 เส้นกริดแนวตั้งเส้นแรกจะมีค่ากำกับคือ 553000 m.E.

เส้นกริดแนวตั้งเส้นที่2 จะมีค่ากำกับคือ 54 ซึ่งมีค่าจริง คือ 554000 m.E. (ใช้หลักที่ 2และ3 มากำกับที่เส้น)

 เส้นกริดแนวตั้งเส้นที่3 จะมีค่ากำกับคือ 55 ซึ่งมีค่าจริง คือ 555000 m.E. (ใช้หลักที่ 2และ3 มากำกับที่เส้นเช่นกัน)

 เส้นกริดแนวตั้งเส้นที่ 4, 5, 6, … ก็จะมีลักษณะเดียวกัน

 จะสังเกตได้ว่าเส้นกริดแนวตั้งแต่ละเส้นจะห่างกัน 1000 m. (เกิดจากคำนวณระยะห่างจากค่าของเส้นกริด เช่น ระยะห่างของเส้นกริดแนวตั้งเส้นที่3 กับเส้นกริดแนวตั้งเส้นที่2 คือ 555000 m.E. - 554000 m.E. = 1000 m. หากแบ่งระยะระหว่างเส้นกริดออกเป็น 10 ส่วนเท่าๆกัน แต่ละส่วนก็จะมีระยะเท่ากับ 100 m.)

 

เส้นกริดแนวนอน

 เส้นกริดแนวนอนเส้นแรกจะมีค่ากำกับคือ 2129000 m.N.

 เส้นกริดแนวนอนเส้นที่2 จะมีค่ากำกับคือ 2130 ซึ่งมีค่าจริง คือ 2130000 m.N. (ใช้หลักที่ 1,2,3และ4 มากำกับที่เส้น)

 เส้นกริดแนวนอนเส้นที่3 จะมีค่ากำกับคือ 31 ซึ่งมีค่าจริง คือ 2131000 m.N. (ใช้หลักที่ 3และ4 มากำกับที่เส้น)

 เส้นกริดแนวนอนเส้นที่4 จะมีค่ากำกับคือ 32 ซึ่งมีค่าจริง คือ 2132000 m.N. (ใช้หลักที่ 3และ4 มากำกับที่เส้นเช่นกัน)

 เส้นกริดแนวนอนเส้นที่ 5, 6, 7, … ก็จะมีลักษณะเดียวกับเส้นกริดแนวนอนเส้นที่ 3 และ 4

 จะสังเกตได้ว่าเส้นกริดแนวนอนแต่ละเส้นจะห่างกัน 1000 m. (เกิดจากคำนวณระยะห่างจากค่าของเส้นกริด เช่น ระยะห่างของเส้นกริดแนวนอนเส้นที่3 กับเส้นกริดแนวนอนเส้นที่2 คือ 2131000 m.N. - 2130000 m.E. = 1000 m. หากแบ่งระยะระหว่างเส้นกริดออกเป็น 10 ส่วนเท่าๆกัน แต่ละส่วนก็จะมีระยะเท่ากับ 100 m.)

การอ่านค่าพิกัด

  

 เมื่ออ่านค่าพิกัดของเส้นกริดเส้นแรกที่แนวตั้งและแนวนอน จะอ่านได้ คือ x = 553000 และค่า y = 2129000 หรือ (x,y) = (553000,2129000)

 หากจะอ่านละเอียดขึ้นเราสามารถแบ่งระยะระหว่างเส้นกริดออกเป็น 10 ส่วนเท่าๆกัน แต่ละส่วนก็จะมีระยะเท่ากับ 100 m. ได้ตามที่กล่าวมาแล้ว

 จากภาพเมื่อแบ่งระยะระหว่างเส้นกริดออกเป็น 10 ส่วนเท่าๆกัน เราสามารถอ่านตำแหน่งพิกัดโรงเรียนบ้านหม้อตามระบบพิกัด UTM ได้ คือ (554100,2131100)

เราจะสังเกตได้ว่า หากใช้ Mobile หรือเครื่อง GPS แบบมือถือ หรือแผนที่ในระบบของ Google Map ฯลฯ แล้วอ่านค่าพิกัด UTM จะปรากฏค่าพิกัดในลักษณะข้างต้น อย่างไรก็ตาม ค่าพิกัดดังกล่าวจะมีความคลาดเคลื่อนแฝงอยู่ ในบางครั้งอาจจะคลาดเคลื่อนถึง 100-1000 เมตร

ดังนั้นเมื่ออ่านค่าจากโปรแกรม GIS ผู้ใช้ต้องเข้าใจหรือรับรู้ที่มาของชั้นข้อมูลแผนที่นั้นๆ ว่ามีความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลอย่างไร จะนำไปใช้กับงานอะไร ยอมรับได้หรือไม่  เช่น การวัดตำแหน่งที่ตั้งหมู่บ้าน การอ่านค่าพิกัดที่กลางหมู่บ้าน หรือท้ายหมู่บ้าน ค่าพิกัดที่ได้จะไม่เท่ากัน แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ผู้ใช้ข้อมูลสามารถเข้าไปสู่หมู่บ้านนั้นๆได้โดยไม่ผิดพลาด หากต้องการความแม่นยำที่มากขึ้นแล้ว นอกจากจำเป็นต้องใช้แผนที่ที่มีความละเอียดในมาตราส่วนใหญ่ขึ้น หรือต้องใช้เครื่อง GPS ที่มีความละเอียดสูงหรือต้องนำค่าไปเทียบกับค่า Base Station แล้ว การกำหนดมาตรฐานการวัดค่าพิกัดก็มีความจำเป็น เช่น การวัดค่าพิกัดโรงเรียน ที่ว่าการอำเภอ หรือสถานที่ราชการอื่น ๆ ให้วัดค่าพิกัดที่ตำแหน่งเสาธง เป็นต้น

 

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 2 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/256-contour-2

อ่าน การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ภูมิประเทศ 1:50,000 ตอน 3 ที่ https://www.geo2gis.com/index.php/2016-01-29-05-50-20/255-profile-contour-2

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปรากฏการณ์บนโลกมีทั้งที่กลมกลืนต่อเนื่องและแบ่งแยกชัดเจน การออกแบบในการสร้างและอธิบายให้เข้าใจผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าแผนที่จำเป็นต้อง....

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

    รายละเอียด

     
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับการจัดเก็บภาษีป้ายของกรุงเทพมหานคร เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายที่มา แนวคิดและกระบวนการในการประยุกต์ใช้ระบบ GIS สำหรับการจัดเก็บภาษีป้ายของกรุงเทพมหานคร

    อ่านเพิ่มเติม...
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้80
เมื่อวานนี้530
สัปดาห์นี้1536
เดือนนี้6980
ทั้งหมด1193189
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 2

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com