ผ่าช่อ สภาพภูมิสัณฐานที่เห็นเป็นชั้นดินและหินแยกออกเป็นชั้นๆ เขาว่าเป็น แกรนด์แคนยอนเมืองไทย

"The geological formation, characterized by layers of soil and rock, is referred to as the Grand Canyon of Thailand."

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่แปรผันไปตามสภาพลมฟ้าอากาศ ภัยแล้งส่วนใหญ่เกิดในเวลาฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • สำรับมนุษย์แล้ว ไฟเป็นทั้งเพื่อนและศัตรู ทาสและเจ้านาย  ไฟเป็นพลังธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 วันที่ 30 มิถุนายน 2561 :

 

รายงานข่าวกล่าวว่า วันที่ 30 มิถุนายน 2561 ภารกิจลดปริมาณน้ำในถ้ำหลายวิธีเริ่มประสบความสำเร็จ การลดระดับน้ำในถ้ำจากการเบี่ยงทางเดินน้ำโดยมีการสำรวจเส้นทางน้ำที่ไหลเข้าถ้ำและพยายามเปลี่ยนเส้นทางการไหลโดยใช้ท่อและวิธี กาลักน้ำ ให้น้ำไหลไปตามแนวท่อ การขุดเจาะระบายน้ำใต้ดินในบริเวณโดยรอบๆ ถ้ำหลวง ทำให้ระดับน้ำในถ้ำลดลง

         

ภารกิจการเบี่ยงทางเดินน้ำบนภูเขาเพื่อลดระดับน้ำในถ้ำหลวงฯ ถูกเร่งดำเนินการแข่งกับเวลาและสภาพลมฟ้าอากาศในขณะนั้น  (ที่มา: ภาพต้นแบบจาก www.komchadluek.net)

         

การขุดเจาะระบายน้ำใต้ดินถูกดำเนินการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน (ที่มา: ภาพต้นแบบจาก www.komchadluek.net)

ประมาณเที่ยงวันเฟซบุ๊ก Thai navySEAL รายงานว่าระดับน้ำในถ้ำลดลงจนสามารถเข้าถึงโถง 3 และเตรียมเข้าไปค้นหาที่จุดหาดพัทยา โดยมีการขนท่อสูบน้ำและเครื่องสูบน้ำมาติดตั้งระดมสูบน้ำออกจากถ้ำจนน้ำลด หน่วยค้นหาสามารถเดินค้นหาเลยต่อไปจากหาดพัทยาถึง 300 เมตร ขณะที่มีการเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิตบริเวณโถง 3 และในวันนี้ ครูบาชุ่มก็ได้เดินทางมาถึงปากถ้ำเป็นครั้งที่ 2 เพื่อทำพิธีสืบชะตาให้กำลังใจญาติ ๆ ของเด็กอีกครั้ง

วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 :

ในวันที่ผ่าน ๆ มาจะพบว่าขวัญกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการปฏิบัติภารกิจของผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ ซึ่งล้วนมาจากประชาชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งมาจากความเชื่อ ความศรัทธาจากพระสงฆ์และสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่เคารพนับถือกัน เช่นเดียวกับวันนี้ที่ข่าวสารจากต่างประเทศได้รายงานว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิกทรงทราบข่าวการค้นหาเด็ก ๆ และโค้ชทีมนักเตะหมูป่าอะคาเดมี พระองค์ทรงห่วงใยและได้ทรงสวดมนต์ขอพรให้ทุกคนปลอดภัยซึ่งย่อมทำให้ผู้ร่วมภารกิจค้นหาฯ ที่ทราบข่าวย่อมมีขวัญและกำลังใจเพิ่มขึ้น

ในส่วนของการค้นหา ทีมค้นหาได้พยายามเพิ่มช่องทางการเข้าสู่ถ้ำหลวงจากด้านบน โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ของทหารลำเลียงเครื่องจักรและอุปกรณ์หนักไปที่ดอยผาหมีเพื่อขุดเจาะและขยายโพรงหาทางเข้าถ้ำฯ 

         

การพยายามเพิ่มช่องทางการเข้าสู่ถ้ำหลวงจากด้านบนโดยการขุดเจาะภูเขาทำให้มีภารกิจที่เฮลิคอปเตอร์ต้องลำเลียงเครื่องจักรและอุปกรณ์หนักขึ้นไปที่ดอยผาหมี (ที่มา: ภาพต้นแบบจาก www.komchadluek.net)

พร้อมกับทางด้านล่างได้มีการนำเครื่องสูบน้ำที่แรงที่สุดที่เรียกว่าท่อพญานาคจำนวน 10 ท่อมาช่วยระดมสูบน้ำออกจากปากถ้ำ โดยท่อพญานาคสามารถสูบน้ำได้มากกว่า 10 เท่าของท่อน้ำปกติที่มีอยู่

ในขณะที่วันนี้ รศ. ประหยัด ปานดี อดีตอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ มช. ได้เสนอความเห็นโดยเขียนผ่านไลน์กลุ่มศิษย์เก่าภูมิศาสตร์ มช. แนะนำให้สำรวจน้ำมุดรูที่มีทิศทางการไหลและหายไปในทิศของถ้ำหลวง เพื่อทำการปิดจุดที่น้ำมุดหายไป แล้วทำการเบี่ยงเบนทิศทางการไหลของน้ำ ณ จุดนั้น ซึ่งผมเห็นว่ามีประโยชน์มากจึงได้นำความเห็นอาจารย์เสนอเข้าไปในเฟซบุ๊ก Geo CMU Alumni

         

การลดปริมาณน้ำในถ้ำหลวงอีกทางหนึ่งถูกเสนอโดยอดีตอาจารย์ภูมิศาสตร์ คือการสำรวจน้ำมุดรูแล้วทำการเบี่ยงเบนทิศทางการไหลของน้ำไม่ให้ไหลเข้าถ้ำ (ที่มา: ภาพจากเฟซบุ๊ก Geo CMU Alumni)

         

จากข้อเสนอให้สำรวจน้ำมุดรูแล้วเบี่ยงเบนทิศทางทำให้นักภูมิศาสตร์ทำการวิเคราะห์หาตำแหน่งน้ำมุดรูจากข้อมูล DEM จาก Aster 30 เมตร แล้วจัดทำแผนที่เสนอผ่านเฟซบุ๊ก Mapping for Search & Rescue Mission @Mae Sai

รายงานข่าวจากสื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่าสถานการณ์น้ำวันนี้ดีขึ้นมาก น้ำในถ้ำลดลงจนทำให้หน่วยซีลและทีมที่เชี่ยวชาญการดำน้ำในถ้ำจากต่างชาติสามารถตั้งฐานปฏิบัติการภายในถ้ำได้และทีมแพทย์ได้เริ่มซักซ้อมเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยอย่างเป็นระบบ

วันที่ 2 กรกฎาคม 2561 :

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายแถลงว่าการระบายน้ำ อุดตาน้ำและการเบี่ยงทางเดินน้ำสามารถทำได้สำเร็จ ทั้งหมดเกิดจากความพยายามในหลาย ๆ วันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงในวันนี้ที่ชาวบ้านผาหมี กว่า 100 คนได้ร่วมกันสร้างฝายกั่นน้ำพร้อมทั้งใช้ท่อน้ำขนาดใหญ่เป็นทางเดินน้ำใหม่ให้เปลี่ยนทางน้ำไม่ให้ไหลซึมเข้าถ้ำหลวงด้วย

         

ชาวบ้านผาหมีสร้างฝายกั่นน้ำพร้อมใช้ท่อน้ำขนาดใหญ่เปลี่ยนทางน้ำไม่ให้ไหลเข้าถ้ำหลวง (ที่มา: ภาพต้นแบบจาก www.komchadluek.net)

ในการสำรวจมีความคืบหน้ามากหลังจากตั้งกองบัญชาการที่โถง 3 หน่วยชีลและนักดำน้ำชาวต่างชาติสามารถเข้าไปถึงสามแยกและหาดพัทยา และพบว่าที่หาดพัทยาถูกน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม หน่วยชีลและนักดำน้ำชาวอังกฤษก้ยังพยายามดำน้ำสำรวจเลยไปจนถึงเนินนมสาว และที่เนินนมสาวนี่เอง สิ่งที่ทุกคนรอคอยและเฝ้าติดตามก็เกิดขึ้น ซึ่งหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ว่า นักสำรวจถ้ำชาวอังกฤษได้ดำไปจนสุดปลายเชือกที่ใช้ปักวางแนวนำทาง และเมื่อปักปลายเชือกลงในดินโคนแล้วก็โผล่ขึ้นจากน้ำและได้พบกับเด็ก ๆ ทั้ง 13 ชีวิตอยู่บนเนินนมสาวพอดี

         

เด็ก ๆ ทั้ง 13 ชีวิตที่พักอยู่บนเนินนมสาวในถ้ำหลวงฯ ถูกค้นพบโดยนักสำรวจถ้ำชาวอังกฤษที่ดำน้ำเข้าไปค้นหา (ที่มา: ภาพจาก www.komchadluek.net)

ภารกิจการค้นหาเด็ก ๆ ที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2561 จนถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 จึงได้จบสิ้นลงพร้อมกับความดีใจ ความภูมิใจของคนไทยและชาวต่างชาติมากมาย หากแต่สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นตามมาคือ การพาเด็ก ๆ นักดำน้ำและทีมงานทั้งหมดที่อยู่ภายในถ้ำกลับออกมาอย่างปลอดภัยยังเป็นภารกิจที่ไม่ง่ายไปกว่าการค้นหาเช่นกัน

สำหรับนักภูมิศาสตร์แล้ว ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจการค้นหาเด็กๆ นักภูมิศาสตร์ยังคงต้องสำรวจและใช้วิชาความรู้ช่วยค้นหาหลุมยุบ โพรงและปล่องบนภูเขาซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะเป็นช่องทางนำเด็ก ๆ นักดำน้ำและทีมงานที่อยู่ภายในถ้ำกลับออกมาทางด้านบนดอยนางนอน

 

          อ่านตอน 1

          อ่านตอน 2

          อ่านตอน 3

          อ่านตอน 5

 

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การวัดพื้นที่บนแผนที่มีหลายวิธีการ แต่ละวิธีมีความเหมาะสมและได้ผลถูกต้องแม่นยำแตกต่างกันไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในการวัดพื้นที่บนแผนที่เบื้องต้น ผู้ที่วัดขนาดพื้นที่ต้องเข้าใจ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจที่มาของระบบ GIS รวมทั้ง Spatial data เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยแผนที่ระบบเดิม โดยมีกิจกรรมแทรกประกอบ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ควรหรือที่จะสรุปว่า ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics, Geomatics) ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS)  การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อปรากฏการณ์บนพื้นโลกถูกแสดงเป็นแผนที่ทั้งในรูป Hard Copy (กระดาษ, แผ่นผ้า, พลาสติก ฯลฯ) และ Soft Copy (Digital Map) ปัจจุบันเราจะรับรู้ว่ามีการจัดเก็บในระบบ GIS ในรูป Feature ที่เป็น Graphic data และ Attribute data  

    อ่านเพิ่มเติม...
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้204
เมื่อวานนี้425
สัปดาห์นี้1045
เดือนนี้11979
ทั้งหมด1428199
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 30

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com