การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อ่านเพิ่มเติม...
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ 

    Wind is the movement of air from one area to another, resulting from temperature differences and air pressure variances between the two regions.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer) ” สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาแนะนำการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ การบริหารจัดการ ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจ

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ระดับน้ำลด เข้าถึงและพบเด็ก ๆ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

สารบัญ

 เมื่อประชากรไทยใกล้สิ้น ปี 2565 ตอนที่ 3 เปรียบเทียบประชากรไทย 3 ปี 4 วัย

จากข้อมูลประชากรของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เมื่อนำมาเชื่อมกับแผนที่แต่ละจังหวัด โดยแสดงเป็นแผนที่จำนวนประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) ประชากรวัยแรงงาน (อายุตั้งแต่ 15-59 ปี) ประชากรวัยสูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) และประชากรวัยพึ่งพิง (ประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุ) โดยแบ่งกลุ่มตามจำนวนเป็น 5 กลุ่ม แล้วนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 รวมทั้งนำจำนวนประชากรแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคำนวณเป็นค่าร้อยละต่อประชากรทั้งหมดและนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่ม และนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผลที่ปรากฏสามารถพิจารณาได้ดังนี้

 

เปรียบเทียบประชากรวัยเด็ก 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยเด็กซึ่งมีอายุน้อยกว่า 15 ปี แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนเด็กเป็น 5 กลุ่ม เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในช่วง ปี พ.ศ. 2556 – 2560 โดยในปี พ.ศ. 2560 จังหวัดชอนแก่น และบุรีรัมย์มีจำนวนประชากรเด็กลดลงอย่างชัดเจน (รูปที่ 1)

 

และเมื่อนำจำนวนประชากรเด็กมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ แล้วนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่มโดยเปรียบเทียบ 3 ปีเช่นเดิม (รูปที่ 2) พบว่า

 

ในปี พ.ศ. 2556 มีจังหวัดที่มีค่าร้อยละของประชากรเด็กจำนวนต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 20 % ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคใต้

ในปี พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2565 ร้อยละของจำนวนประชากรเด็กต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะลดลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป โดย ปี พ.ศ. 2565 ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และจังหวัดตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนประชากรเด็กต่อจำนวนประชากรทั้งหมดเปลี่ยนแปลงลดลงจากปี พ.ศ. 2560 อย่างชัดเจน

เมื่อนำเอาข้อมูลค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรรวมมาเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2556 2560 2565 พบว่าค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรรวมทุกจังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 3)

 

เมื่อนำเอาข้อมูลค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรรวมมาเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2556 กับปี 2565 แล้วนำมาเรียงลำดับตามค่าความแตกต่างมากไปน้อย (ตารางที่ 1) พบว่า 10 จังหวัดแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมาก ประกอบด้วย จังหวัดตาก ระนอง แม่ฮ่องสอน ภูเก็ต บึงกาฬ นครพนม กระบี่ ตรัง สมุทรสาคารและพังงา ซึ่งเป็นจังหวัดในภาคใต้ถึง 5 จังหวัด จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด และจังหวัดในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก ภาคละ 1 จังหวัด

 

เปรียบเทียบประชากรวัยแรงงาน 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยแรงงานแต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่มแล้วนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 (รูปที่ 4) พบว่าจำนวนประชากรวัยแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนหลายจังหวัด โดยเฉพาะถ้าพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2556 กับปี  2565 พบว่า กลุ่มจังหวัดในภาคเหนือที่มีจำนวนประชากรวัยแรงงานลดลง ได้แก่ จังหวัดลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ ส่วนภาคกลางและภาคใต้มีที่มีเพียงภาคละ 1 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยแรงงานลดลงอย่างชัดเจน คือจังหวัดลพบุรี และนครศรีธรรมราช ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าจังหวัดที่จำนวนประชากรวัยแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ได้แก่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง

เมื่อนำจำนวนประชากรวัยแรงงานมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละและนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบ 3 ปี (รูปที่ 5) เช่นเดิม พบว่า

ปี 2556 มีเพียงจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพียงจังหวัดเดียวที่ค่าจำนวนประชากรวัยแรงงานต่ำกว่า 60 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในจังหวัด

ปี 2560 มี 3 จังหวัดที่ค่าจำนวนประชากรวัยแรงงานต่ำกว่า 60 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด

ปี 2565 มี 6 จังหวัดที่ค่าจำนวนประชากรวัยแรงงานต่ำกว่า 60 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ในขณะเดียวกันจังหวัดที่มีประชากรวัยแรงงานสูงกว่า 65 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด กับลดลงเมื่อเวลาเปลี่ยนไป ซึ่งจากแผนที่พบว่าในปี 2565 มีกลุ่มจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรวัยแรงงานสูงกว่า 65 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดปรากฏเกาะกลุ่มเด่นชัด ส่วนภาคอื่น ๆ พบว่ามีเพียง 8 จังหวัดที่มีประชากรวัยแรงงานสูงกว่า 65 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง กระบี่และภูเก็ต

 

 

 จากรูปที่ 6 แผนภูมิเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยแรงงานต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดในปี 2556 2560 2565 พบว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไปจำนวนประชากรวัยแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในทุกจังหวัดจะค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง และจากรูปที่ 5 เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2556 กับ ปี 2565 พบว่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยแรงงานต่อประชากรทั้งหมดจะลดลงอย่างชัดเจนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ภาคกลางและจังหวัดในภาคใต้ตอนบน

 

 


เปรียบเทียบประชากรวัยสูงอายุ 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยสูงอายุแต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนผู้สูงอายุเป็น 5 กลุ่ม และนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 (รูปที่ 7) พบว่า

จำนวนผู้สูงอายุในหลายจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถ้าพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2556 กับปี  2565 พบว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีหลายจังหวัดที่จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน มีเพียงภาคใต้เท่านั้นที่จำนวนผู้สูงอายุยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด 

 

เมื่อนำจำนวนประชากรวัยสูงอายุมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ และนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบ 3 ปี เช่นเดิม(รูปที่ 8) จากข้อมูลพบว่า

ปี พ.ศ. 2556 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 9 - 19 % และจากรูปที่ 6 จังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดจะเกาะกลุ่มโดยปรากฏอยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก

ปี พ.ศ. 2560 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 10 - 21 % และจากรูปที่ 6 พบว่าจังหวัดที่ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรมากกว่า 15 จะกระจายครอบคลุมภาคเหนือ ภาคกลางและขยายไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกลุ่มจังหวัดที่เด่นชัดจะมีค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรมากกว่า 20 ซึ่งอยู่ในภาคเหนือ คือ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่

ปี พ.ศ. 2565 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 12 - 26 % โดยกระจายครอบคลุมทุกภาคและพบว่ามีถึง 4 จังหวัด (ลำปาง ลำพูน แพร่ สิงห์บุรี) ที่มีจำนวนประชากรวัยสูงอายุประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด (มากกว่า 25 %) และ มี 19 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยสูงอายุมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด (มากกว่า 20 %)

ถ้าเปรียบเทียบค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดระหว่างปี พ.ศ. 2556 กับ 2565 โดยพิจารณาจากรูปที่ 8 จะพบว่าจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเกือบทุกจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดในภาคเหนือต่อเนื่องลงมาถึงภาคกลางและภาคตะวันตก

โดยจากรูปที่ 8 พบว่ามีจังหวัดที่ร้อยละของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดมีการเปลี่ยนแปลงน้อยในช่วงปี พ.ศ. 2556 – 2565 ซึ่งปรากฏโดดเด่น ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก ชลบุรี ระยอง กระบี่ ภูเก็ต สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อย่างไรก็ตามพบว่าสัดส่วนของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทุกจังหวัดและทุก ๆ ปี ซึ่งสังเกตุได้ จากรูปที่ 9 แผนภูมิเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565

 

 

 

เปรียบเทียบประชากรวัยพึ่งพิง 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรของประเทศไทยโดยนับเอาจำนวนประชากรวัยเด็กรวมกับจำนวนประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิงแบ่งกลุ่มตามจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงเป็น 5 กลุ่ม แล้วนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 (รูปที่ 10)

ในปี 2556 เมื่อพิจารณาจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงรายจังหวัดพบว่า ส่วนใหญ่จะมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงไม่เกิน 500,000 คน มีเพียง 6 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คน ขณะที่จำนวนประชากรวัยพึงพิง 700,000 – 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือจังหวัดนครราชสีมา และจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงถึง 1,722,579 คน

ในปี 2560 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คนมีเพิ่มขึ้นอีก 1 จังหวัดเป็น 7 จังหวัด ขณะที่จำนวนประชากรวัยพึงพิง 700,000 – 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือจังหวัดนครราชสีมา และจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงถึง 1,802,878 คน

 

ในปี 2565 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คนมีเพิ่มขึ้นเป็น 10 จังหวัด โดยมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา (ประชากรวัยพึงพิง 906,139 คน) และ กรุงเทพมหานคร (ประชากรวัยพึงพิง 1,862,605 คน)

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ(รูปที่ 11) จะพบว่า

ในปี 2556 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % ในขณะที่มี 3 จังหวัดในภาคเหนือ(เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา) 2 จังหวัดในภาคกลาง(ปทุมธานี สมุทรปราการ) และ 1 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อุดรธานี) ที่ร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % ส่วนจังหวัดที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 35 % จะพบใน 4 จังหวัดในภาคใต้(สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) เท่านั้น

          ในปี 2560 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % โดยจังหวัดเดิมที่ปี 2556 มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % กลับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในช่วง 30-35 % และมี 4 จังหวัดในภาคกลาง(อุทัยธานี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง) ที่เดิมค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % เพิ่มขึ้นมาเป็นมากกว่า 35 % ในขณะที่มี 2 จังหวัด(แม่ฮ่องสอนและตาก) ที่เดิมค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดที่เดิมอยู่ในช่วง 30-35 % กลับลดลงมาน้อยกว่า 30 %

          ในปี 2565 พบว่ามีเพียงจังหวัดตากเท่านั้นที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % และถ้าพิจารณาข้อมูลในแผนที่จะพบว่าจังหวัดที่มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 35 % จะโดดเด่นและเกาะกลุ่มกันตั้งแต่จังหวัดในภาคเหนือตอนบนเชื่อมมาถึงภาคกลางและติดต่อมาถึงจังหวัดทางด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นก็จะปรากฏโดดเด่นและเกาะกลุ่มกันในจังหวัดทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส

เมื่อพิจารณาค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดทุกจังหวัดจากรูปที่ 12 แผนภูมิเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ปี 2556 2560 2565 จะพบว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไปเกือบทุกจังหวัดสัดส่วนของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อประชากรทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีเพียง 3 จังหวัด(ตาก แม่ฮ่องสอน ภูเก็ต) ที่อาจจะมีโอกาสที่สัดส่วนของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อประชากรทั้งหมดจะลดลง

ดังนั้นอาจจะพิจารณาโดยรวมได้ว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไปจำนวนประชากรวัยพึงพิงจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกจังหวัด รวมทั้งสัดส่วนจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดเกือบทุกจังหวัดก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 

 


เปรียบเทียบอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ 3 ปี

ข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เมื่อนำมาเชื่อมเป็นแผนที่แสดงจำนวนประชากรของประเทศไทยโดยนับเอาจำนวนประชากรวัยเด็กรวมกับจำนวนประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิงแล้วนำมาเปรียบเทียบกับประชากรวัยแรงงาน โดยคำนวณเป็นค่าอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ พบว่า ปี พ.ศ. 2556 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 48 (มีกลุ่มคนในวัยที่ต้องพึ่งพิง 48 คน ในทุก ๆ กลุ่มคนวัยทำงาน 100 คน)  ปี พ.ศ. 2560 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 50 และกลางปี พ.ศ. 2565 (เดือน มิถุนายน) อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53  ซึ่งจะพบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2556-2560 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มขึ้น 2 ในขณะที่ช่วงปี พ.ศ. 2560-2565 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มขึ้นถึง 3 

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุแต่ละจังหวัด(รูปที่ 13) จะพบว่า ในปี 2556 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุน้อยกว่า 50 ส่วนจังหวัดที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 50 และเกาะกลุ่มโดดเด่นจะเป็นจังหวัดในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไปจนถึงจังหวัดใต้สุดของประเทศไทย โดยมี 2 จังหวัดคือจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 60

ในปี 2560 พบว่าหลายจังหวัดที่ในปี 2556 มีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุน้อยกว่า 50 มีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มมาอยู่ในช่วง 50-60 แต่จังหวัดที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 60 ยังคงเป็นจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาเช่นเดิม

ในปี 2565 พบว่าในภาพรวมทุกจังหวัดมีอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุอยู่ในช่วงเดียวกับปี 2560 คือ อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุอยู่ในช่วง 50-60 และมีจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุมากกว่า 60

จากรูปที่ 14 แผนภูมิเปรียบเทียบอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุแต่ละจังหวัด ปี 2556 2560 2565 พบว่า ในปี 2565 เกือบทุกจังหวัดอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะสูงขึ้น มีเพียง 4 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และภูเก็ตเท่านั้นที่อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุลดลง

หากพิจารณาสัดส่วนของประชากรวัยพึ่งพิงต่อประชากรทั้งหมด โดยนำเอาแผนภูมิค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมาเปรียบเทียบกับแผนภูมิค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมด (รูปที่ 15) จะพบว่าแต่ละจังหวัดค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดจะลดลงทุก ๆ ปี ในขณะที่ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดกลับเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน แสดงว่าอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดนั้นเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก เมื่ออัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุเพิ่มขึ้นทุกปี พิจารณาดี ๆ ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากขึ้น....จะทำอย่างไร...หรือจะให้เป็นภาระของ AI

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • มาตราส่วนจะสัมพันธ์ในการทำ Generalization และ Symbolization ในแผนที่

    The scale plays a crucial role in the processes of generalization and symbolization in cartography.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • จัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแผนที่เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพิจารณากำหนดชนิดของคุณลักษณะข้อมูล (Feature Type)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ในการสร้างหรือแก้ไขชั้นข้อมูลในระบบ GIS สิ่งที่ต้องระวังและควรรับรู้ก็คือที่มาของแผนที่ฐาน เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบ Digital การย่อ ขยายเพื่อปรับแก้ข้อมูลทำได้ง่ายแต่คลาดเคลื่อนผิดพลาดตามค่าตั้งต้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

    รายละเอียด

     
  • GIS : หลักการและการสร้างแผนที่ภูมิศาสตร์เบื้องต้น การใช้งานโปรแกรม ArcView 3.2 เบื้องต้น เนื้อหา การใช้งานโปรแกรม ArcView 3.2 เพื่อจัดทำและนำเสนอข้อมูลทั้งในรูปฐานข้อมูล แผนภูมิ และแผนที่  โดยสอนฝึกปฏิบัติกับโปรแกรมและข้อมูลจริง

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้31
เมื่อวานนี้542
สัปดาห์นี้2045
เดือนนี้19490
ทั้งหมด1184875
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 3

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com