ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

    The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฝนตกในวันที่ 9 และ 10 ธ.ค. 2566 ในวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ไม่มีหมอก วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ตอนเช้าอากาศเย็นเล็กน้อย ปรากฏมหมอกบาง ๆ รอบๆ บ้านภูมิ-เพียง แม่ริม เชียงใหม่

    Rain on December 9 and 10, 2023. December 11, 2023, no fog. On December 12, 2023, the morning was slightly cold. The fog appeared around the BaanPoomPiang Mae Rim Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ถูกบรรจุเนื้อหาไว้ในวิชาเรียนในระดับมัธยมศึกษา

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เพื่อไม่ให้เนื้อหาที่เตรียมไปบรรยายประกอบการเรียน การสอนวิชา 154108 เสียของ จึงขอนำเอามาเขียนไว้ใน www.GEO2GIS.com โดยจะแบ่งเป็น 5 ตอน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • จากบทความ พระราชดำรัสสมเด็จพระราชินี "แผนที่" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ใน www.posttoday.com เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559 บางส่วน

     

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

สารบัญ

เปรียบเทียบประชากรวัยสูงอายุ 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยสูงอายุแต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนผู้สูงอายุเป็น 5 กลุ่ม และนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 (รูปที่ 7) พบว่า

จำนวนผู้สูงอายุในหลายจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถ้าพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2556 กับปี  2565 พบว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีหลายจังหวัดที่จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน มีเพียงภาคใต้เท่านั้นที่จำนวนผู้สูงอายุยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด 

 

เมื่อนำจำนวนประชากรวัยสูงอายุมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ และนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบ 3 ปี เช่นเดิม(รูปที่ 8) จากข้อมูลพบว่า

ปี พ.ศ. 2556 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 9 - 19 % และจากรูปที่ 6 จังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดจะเกาะกลุ่มโดยปรากฏอยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก

ปี พ.ศ. 2560 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 10 - 21 % และจากรูปที่ 6 พบว่าจังหวัดที่ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรมากกว่า 15 จะกระจายครอบคลุมภาคเหนือ ภาคกลางและขยายไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกลุ่มจังหวัดที่เด่นชัดจะมีค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรมากกว่า 20 ซึ่งอยู่ในภาคเหนือ คือ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่

ปี พ.ศ. 2565 ค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดจะอยู่ในช่วง 12 - 26 % โดยกระจายครอบคลุมทุกภาคและพบว่ามีถึง 4 จังหวัด (ลำปาง ลำพูน แพร่ สิงห์บุรี) ที่มีจำนวนประชากรวัยสูงอายุประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด (มากกว่า 25 %) และ มี 19 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยสูงอายุมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด (มากกว่า 20 %)

ถ้าเปรียบเทียบค่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดระหว่างปี พ.ศ. 2556 กับ 2565 โดยพิจารณาจากรูปที่ 8 จะพบว่าจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเกือบทุกจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดในภาคเหนือต่อเนื่องลงมาถึงภาคกลางและภาคตะวันตก

โดยจากรูปที่ 8 พบว่ามีจังหวัดที่ร้อยละของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดมีการเปลี่ยนแปลงน้อยในช่วงปี พ.ศ. 2556 – 2565 ซึ่งปรากฏโดดเด่น ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก ชลบุรี ระยอง กระบี่ ภูเก็ต สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อย่างไรก็ตามพบว่าสัดส่วนของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทุกจังหวัดและทุก ๆ ปี ซึ่งสังเกตุได้ จากรูปที่ 9 แผนภูมิเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565

 

 

 

เปรียบเทียบประชากรวัยพึ่งพิง 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรของประเทศไทยโดยนับเอาจำนวนประชากรวัยเด็กรวมกับจำนวนประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิงแบ่งกลุ่มตามจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงเป็น 5 กลุ่ม แล้วนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 (รูปที่ 10)

ในปี 2556 เมื่อพิจารณาจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงรายจังหวัดพบว่า ส่วนใหญ่จะมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงไม่เกิน 500,000 คน มีเพียง 6 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คน ขณะที่จำนวนประชากรวัยพึงพิง 700,000 – 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือจังหวัดนครราชสีมา และจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงถึง 1,722,579 คน

ในปี 2560 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คนมีเพิ่มขึ้นอีก 1 จังหวัดเป็น 7 จังหวัด ขณะที่จำนวนประชากรวัยพึงพิง 700,000 – 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือจังหวัดนครราชสีมา และจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 1 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงถึง 1,802,878 คน

 

ในปี 2565 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 500,000 คนมีเพิ่มขึ้นเป็น 10 จังหวัด โดยมีจำนวนประชากรวัยพึงพิงเกิน 900,000 คน มี 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา (ประชากรวัยพึงพิง 906,139 คน) และ กรุงเทพมหานคร (ประชากรวัยพึงพิง 1,862,605 คน)

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ(รูปที่ 11) จะพบว่า

ในปี 2556 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % ในขณะที่มี 3 จังหวัดในภาคเหนือ(เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา) 2 จังหวัดในภาคกลาง(ปทุมธานี สมุทรปราการ) และ 1 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อุดรธานี) ที่ร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % ส่วนจังหวัดที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 35 % จะพบใน 4 จังหวัดในภาคใต้(สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) เท่านั้น

          ในปี 2560 จังหวัดส่วนใหญ่จะมีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % โดยจังหวัดเดิมที่ปี 2556 มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % กลับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในช่วง 30-35 % และมี 4 จังหวัดในภาคกลาง(อุทัยธานี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง) ที่เดิมค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ในช่วง 30-35 % เพิ่มขึ้นมาเป็นมากกว่า 35 % ในขณะที่มี 2 จังหวัด(แม่ฮ่องสอนและตาก) ที่เดิมค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดที่เดิมอยู่ในช่วง 30-35 % กลับลดลงมาน้อยกว่า 30 %

          ในปี 2565 พบว่ามีเพียงจังหวัดตากเท่านั้นที่ค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดน้อยกว่า 30 % และถ้าพิจารณาข้อมูลในแผนที่จะพบว่าจังหวัดที่มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 35 % จะโดดเด่นและเกาะกลุ่มกันตั้งแต่จังหวัดในภาคเหนือตอนบนเชื่อมมาถึงภาคกลางและติดต่อมาถึงจังหวัดทางด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นก็จะปรากฏโดดเด่นและเกาะกลุ่มกันในจังหวัดทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส

เมื่อพิจารณาค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดทุกจังหวัดจากรูปที่ 12 แผนภูมิเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ปี 2556 2560 2565 จะพบว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไปเกือบทุกจังหวัดสัดส่วนของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อประชากรทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีเพียง 3 จังหวัด(ตาก แม่ฮ่องสอน ภูเก็ต) ที่อาจจะมีโอกาสที่สัดส่วนของจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อประชากรทั้งหมดจะลดลง

ดังนั้นอาจจะพิจารณาโดยรวมได้ว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไปจำนวนประชากรวัยพึงพิงจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกจังหวัด รวมทั้งสัดส่วนจำนวนประชากรวัยพึงพิงต่อจำนวนประชากรทั้งหมดเกือบทุกจังหวัดก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เกิดอะไรขึ้นเมื่อแผนที่กระดาษมีสัญลักษณ์แนวทิศเหนืออยู่ 3 ทิศ อะไรกัน...

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ในอดีต แผนที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบัน เมื่อมือถือ มีระบบแผนที่ออนไลน์ การอ่านและเข้าใจแผนที่จึงสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และหากเข้าใจแผนที่มากขึ้น แน่นอนว่าแผนที่จะยิ่งสร้างประโยชน์มากยิ่งๆขึ้น 
    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เส้นชั้นความสูงเป็นเส้นที่สมมุติที่จะลากผ่านพื้นผิวโลกที่มีระดับความสูงเท่ากัน โดยเส้นชั้นความสูงจะปรากฏทั่วไปในแผนที่ที่ต้องการแสดงภูมิประเทศ หรือเป็นชั้นข้อมูลหนึ่งในโปรแกรมระบบ GIS 

    อ่านเพิ่มเติม...
  • GIS เป็น แค่เครื่องมือ ในการนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้หรือการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ควรศึกษาในบ้างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" คือ ภูมิศาสตร์หากพิจารณาแนวคิดของศาสตร์นี้จะพบว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมี Algorithms เกี่ยวข้องกับพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • นักท่องเที่ยว แรงงานต่างด้าว ในเมืองเชียงใหม่ 

    Travelers and foreign workers in the city of Chiang Mai.

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้460
เมื่อวานนี้397
สัปดาห์นี้3149
เดือนนี้4654
ทั้งหมด1433087
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 4

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com