ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ และอีกหลายพื้นที่ จนมาถึงการเกิดน้ำป่าทำความเสียหายให้กับปายและขุนน่าน ในเดือน สิงหาคม 2559 ...บทเรียนซ้ำ ๆ โมเดลเดิมๆ ช่างน่าเบื่อจังเลย 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    จากสภาพปัญหาเรื่องการประสานสาธารณูปโภคจึงเกิดโครงการทดลองที่นำเอาระบบ GIS มาเป็นเครื่องมือจัดสร้างฐานข้อมูลร่วมกันเพื่อการทำงานร่วมกัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  หลากหลายความเห็นจากนักภูมิศาสตร์และการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ทั้งนี้ จากองค์ความรู้ ประสบการณ์และเครื่องมือที่นักภูมิศาสตร์มี นักภูมิศาสตร์จึงทำงานได้ทั้งในฐานะผู้ศึกษาทางพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้วางแผนและผู้ประสานงาน

    อ่านเพิ่มเติม...

ให้เรตสมาชิก: 4 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

สารบัญ

ลม  คือ อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ โดยลมจะพัดจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำซึ่งมีความกดอากาศสูงเข้าสู่บริเวณที่อุณหภูมิสูงซึ่งมีความกดอากาศต่ำ

บริเวณที่มีอุณหภูมิสูงจะมีความกดอากาศต่ำ เนื่องจากอุณหภูมิสูง อากาศขยายตัวทำให้มีความหนาแน่นต่ำ อากาศจะลอยไปข้างบน ส่วนบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ ความหนาแน่นของอากาศจะมากทำให้เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูง สำหรับแผนที่อากาศจะใช้เส้นไอโซบาร์ (Isobar) เป็นแนวบอกค่าระดับความกดอากาศสูงหรือต่ำ (การอ่านค่าคล้ายกับการอ่าน Contour line : ดูที่ อ่านและแปลความจากเส้นชั้นความสูง) และใช้อักษร H และ L บอกบริเวณหย่อมความกดอากาศ โดยหย่อมความกดอากาศสูงใช้อักษร H หย่อมความกดอากาศต่ำใช้อักษร L

 

หากพิจารณาการเคลื่อนตัวของอากาศรอบโลกจะพบว่า บริเวณเขตเส้นศูนย์สูตรเป็นบริเวณที่ได้รับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปีมีอุณหภูมิสูง  อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น(ความกดอากาศต่ำ) ไปจนถึงชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ ซึ่งอากาศจะลอยไม่เกินระดับนี้ อากาศร้อนนี้จึงแผ่ออกไปยังขั้วโลกเหนือและใต้ และเมื่ออากาศร้อนที่แผ่ออกไปปะทะกับอากาศที่เย็นอุณหภูมิก็จะเริ่มลดลงจนถึงบริเวณแถบละติจูด 30° เหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร อากาศที่เย็นลงเรื่อยๆ (ความกดอากาศสูง) ก็จะจมลงสู่ผิวโลก แต่เนื่องจากอากาศนี้มีความชื้นต่ำจึงทำให้บริเวณนี้แห้ง จึงพบทะเลทรายส่วนใหญ่ของโลกอยู่ในบริเวณนี้

อากาศเย็นที่บริเวณเส้นละติจูด 30° เหนือและใต้ ที่จมตัวลงพื้นผิวโลกเนื่องจากความกดอากาศสูงจะถูกกดและผลักให้ไหลไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร จนถึงบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรและหมดกำลังทำให้เกิดเขตลมสงบ หรือลมอ่อน (doldrums)

ในขณะที่อากาศเย็นตัวที่จมลงกลับสู่ผิวโลกที่บริเวณเส้นละติจูด 30° เหนือและใต้ที่จมตัวลงพื้นผิวโลกเนื่องจากความกดอากาศสูงอีกส่วนหนึ่ง จะถูกกดและผลักให้ไหลไปทางขั้วโลกเหนือและใต้ และไปปะทะกับอากาศเย็นจากขั้วโลก แถบบริเวณเส้นละติจูด 60° เหนือและใต้ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า แนวปะทะขั้วโลก (polar fronts)  การปะทะกันของอากาศที่มีอุณหภูมิต่างกัน ทำให้อากาศร้อนกว่าลอยตัวขึ้นโดยส่วนหนึ่งไหลย้อนกลับไปทางเส้นศูนย์สูตร ก่อนที่จะจมตัวลงแถบบริเวณเส้นละติจูด 30° เหนือและใต้อีกครั้งทำให้เกิดความกดอากาศสูงที่บริเวณนี้เพิ่มขึ้น อีกส่วนหนึ่งไหลเคลื่อนไปยังเขตขั้วโลกเหนือและใต้ปะทะกับอากาศเย็นขั้วโลกและจมลง แล้วไหลย้อนกลับไปยังบริเวณเส้นละติจูด 60° เหนือและใต้

 


การเคลื่อนตัวของอากาศที่เรียกว่าลมนั้น สามารถแบ่งประเภทได้ตามลักษณะการเกิด พื้นที่ที่เกิด และช่วงเวลาการเกิด ดังนี้

  1. ลมประจำเวลา (Diurnal Wind) หรือ ลมเฉื่อย (Breeze)   
  2. ลมประจำถิ่น (Local Wind)
  3. ลมประจำปี (Prevailing Wind)
  4. ลมประจำฤดู (Seasonal Wind)
  5. มแปรปรวนหรือลมพายุ (Storm) 

 

1. ลมประจำเวลา (Diurnal Wind) หรือ ลมเฉื่อย (Breeze) 

ป็นลมที่มักจะเกิดในบริเวณหนึ่งๆ ในช่วงเวลาต่างกันในรอบวัน คือ กลางวันและกลางคืน โดยจะเกิดบริเวณพื้นที่ที่ใกล้กันแต่มีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกัน ซึ่งในเวลากลางวันและกลางคืนอุณหภูมิระหว่างสองพื้นที่จะต่างกันด้วย ลมประจำเวลา ได้แก่ ลมบก-ลมทะเล  ลมหุบเขา-ลมภูเขา


2. ลมประจำถิ่น (Local Wind) 

เป็นลมที่เกิดในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะภูมิประเทศโดยเฉพาะ โดยจะมีชื่อเรียกตามสถานที่เกิดบริเวณนั้น เช่น ลมตะเภา ลมบ้าหมู ลมทะเลทราย (Desert Winds)

ลมตะเภาซึ่งเป็นลมที่พัดจากอ่าวไทยขึ้นไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาในฤดูร้อน

 

ลมบ้าหมู เป็นลมหมุนขนาดเล็กเกิดในช่วงร้อนจัด  โดยจะเกิดบริเวณที่โล่งๆหมุนขึ้นไปข้างบน

 

 

ลมทะเลทราย เป็นลมท้องถิ่นเกิดขึ้นในบริเวณทะเลทราย เวลาเกิดจะมาพร้อมกับพายุฝุ่นหรือพายุทราย เป็นลมร้อนและแห้ง บริเวณที่เกิดได้แก่ ทางด้านเหนือของทวีปแอฟริกา บริเวณทะเลทราย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา


 

3. ลมประจำปี (Prevailing Wind) 

เป็นลมที่เกิดจากความกดอากาศที่มีอยู่เดิมตลอดปี เนื่องจากบริเวณขั้วโลกและบริเวณเส้นศูนย์สูตรได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน บริเวณที่มีมวลอากาศน้อยเนื่องจากร้อนมากอากาศลอยตัว เรียกว่า หย่อมความกดอากาศต่ำ (Low pressure) บริเวณที่มีมวลอากาศมากเนื่องจากอากาศเย็นอากาศจึงจมตัว เรียกว่า หย่อมความกดอากาศสูง (High pressure) ซึ่งอากาศจมตัวเคลื่อนไปแทนที่อากาศที่ลอยตัวทำให้เกิดลมพัดผ่านส่วนต่าง ๆ ของโลก ลมประจำปี ได้แก่ ลมสินค้า ลมฝ่ายตะวันตก และลมขั้วโลก

 

 

 

4. ลมประจำฤดู (Seasonal Wind)

เป็นลมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคบริเวณกว้างและเป็นลมที่พัดเป็นเวลานานตลอดฤดูของทุกปี  ได้แก่  ลมมรสุม  สำหรับทิศทางการพัดนั้นขึ้นอยู่ฤดู เป็นลมที่มีการเปลี่ยนแปลงทิศทางของลมที่พัดจากฤดูหนึ่งไปยังอีกฤดูหนึ่งในทิศทางตรงกันข้าม และเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้เนื่องจากทวีปเอเชียมีขนาดใหญ่ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินและน้ำจึงต่างกันมาก การเกิดลมมรสุมแบ่งได้ 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้หรือมรสุมฤดูร้อน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือ มรสุมฤดูหนาว

 


5. ลมแปรปรวนหรือลมพายุ (Storm) 

เป็นลมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงเนื่องจากความกดอากาศที่แตกต่างกันมากจึงทำให้เกิดลมที่มีความรุนแรงมาก ได้แก่ พายุฝนฟ้าคะนอง พายุเขตร้อน

พายุฝนฟ้าคะนอง เกิดจากการเปลี่ยนกดอากาศอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนพฤษภาคมทำให้มีพายุ ลมแรง ฝนตกหนัก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ลูกเห็บตก

 

พายุเขตร้อน เป็นพายุที่เกิดจากการปะทะของความกดอากาศ โดยบริเวณศูนย์กลางจะมีความกดอากาศที่ต่ำกว่าบริเวณรอบๆ จนเกิดพายุหมุน

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...

  • ตามความหมายของแผนที่ แผนที่ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวโลกลงสู่พื้นราบ 2) การย่อส่วน 3) สัญลักษณ์ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผนที่จึงควรเข้าใจทั้ง 3 ส่วนหลักเป็นสำคัญ
    ดูคำอธิบายความหมายของแผนที่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wCz3Qlwmd28&t=118s

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    อ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติ เรื่องง่าย ๆ เด็กก็เข้าใจได้...สไตล์อณุศร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ตั้งแต่เด็กจนแก่มนุษย์อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมรอบตัว การเหลียวหันไปมอง การไขว้คว้า การเคลื่อนที่ของมนุษย์ล้วนผ่านการจดจำว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งเราเรียกมันว่า แผนที่ในใจ (Mental Map)

    อ่านเพิ่มเติม...
  • หลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เนื้อหาการบรรยายจะเกี่ยวกับหลักการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสร้างและจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดทางภูมิศาสตร์

    รายละเอียด

     
  • อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุที่สูงขึ้นทุกปีและเกือบทุกจังหวัดเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุเป็นหลัก ภาระของประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลวัยพึ่งพิงคงมากจะขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมี Algorithms เกี่ยวข้องกับพื้นที่และเวลา

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่ควรศึกษาและจัดการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้223
เมื่อวานนี้622
สัปดาห์นี้1948
เดือนนี้1409
ทั้งหมด1462336
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 6

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com