ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 ถึง 12 องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • พื้นผิวของประเทศไทย เมื่อแบ่งตามธรณีสัณฐานจะแบ่งได้ 8 ภูมิภาค

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ปรากฏการณ์ เอลนีโญ – ลานิญา ถูกพูดถึงบ่อยและมากขึ้น ในฐานะนักภูมิศาสตร์คงต้องอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจอีกครั้ง

    The phenomenon of El Niño-La Niña is increasingly and frequently discussed. As a geographer, it is essential to provide explanations for better understanding once again.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพี่ ๆ น้อง ๆ และครูบาอาจารย์ ในฐานะศิษย์เก่าจึงได้นำเสนอความคิดของอดีตข้าราชการสายวิชาการและสายบริหาร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • สถิติและฐานข้อมูลสาหรับนักบริหาร (Statistics and database for administrators)สอนที่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหากล่าวถึงภาพรวมงานสถิติและขบวนการดำเนินงาน รวมถึงการนำไปใช้งานสำหรับการบริหารงานในทุกระดับ

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

สารบัญ

 

            ภายใต้สมมุติฐานเบื้องต้นว่าประชากรวัยแรงงานคือกลุ่มประชากรที่สร้างรายได้หลักเพื่อนำมาเลี้ยงดูประชากรทั้งหมดซึ่งมีทั้งกลุ่มวัยแรงงาน วัยเด็กและวัยสูงอายุ สำหรับประเทศไทยเมื่อพิจารณาข้อมูลจำนวนประชากรทั้ง 3กลุ่มของประเทศไทยกลางปี พ.ศ. 2565 (เดือน มิถุนายน) จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า


ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66,111,805 คน เป็นวัยเด็ก(อายุ 0-14 ปี) ร้อยละ 15.59 วัยสูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 18.6 และ วัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ร้อยละ 63.95 หากนับเอาประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุเป็น ประชากรวัยพึ่งพิง แล้ว พบว่าประชากรวัยพึ่งพิงมีถึงร้อยละ 34.19 หรือเกินครึ่งของจำนวนประชากรวัยแรงงานแล้ว และเมื่อคำนวณอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุจะเท่ากับ 53 หมายความว่า มีประชากรในวัยพึ่งพิง 53 คนต่อประชากรวัยแรงงาน 100 คน (ถ้าอธิบายแบบง่าย ๆ คือ คนทำงาน 100 คน นอกจากต้องทำงานเลี้ยงดูตนเองและเลี้ยงดูเด็กและคนสูงอายุอีก 53 คน)

เมื่อวัยแรงงานและวัยพึ่งพิงส่งผลต่อกันนอกจากพิจารณาอัตราส่วนต่อกันแล้ว การรู้ว่าจำนวนประชากรทั้ง 2 กลุ่มอยู่ที่ไหนเท่าไรจะทำให้เห็นมุมมองด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และเมื่อนำข้อมูลจำนวนประชากรวัยเด็ก วัยสูงอายุ วัยแรงงาน และวัยพึ่งพิง(วัยเด็ก+วัยสูงอายุ) มาแสดงในรูปแผนที่ จะปรากฏข้อมูลดังนี้

ประชากรวัยเด็ก

 

รูปที่ 1 แผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยเด็กซึ่งมีอายุน้อยกว่า15 ปี แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนเด็กเป็น 5 กลุ่มพบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยเด็กจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา อุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับเมื่อพิจารณาการกระจายและกระจุกตัวของข้อมูลในพื้นพบว่ากลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กมากส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ที่พบกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยเด็กน้อยและปรากฏเป็นกลุ่มต่อเนื่องคือจังหวัดในภาคเหนือได้แก่จังหวัดลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และสุโขทัย

อย่างไรก็ตาม เมื่อนำเอาจำนวนประชากรวัยเด็กมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละซึ่งปรากฏตามแผนที่ในรูปที่ 2 โดยค่าข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งพบว่าร้อยละของประชากรเด็กต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะมีข้อมูลอยู่ในช่วงร้อยละ 11-25 และจังหวัดในภาคใต้จะมีสัดส่วนประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมากกว่าภาคอื่น ๆ

 

 


 ประชากรวัยสูงอายุ

 

รูปที่ 3 แผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยสูงอายุซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนผู้สูงอายุเป็น 5 กลุ่ม พบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยสูงอายุจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา ขอนแก่น เชียงใหม่ อุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับ หากพิจารณา 10 อันดับแรกของจำนวนประชากรวัยสูงอายุจังหวัดต่าง ๆ พบว่ากลุ่มที่ประชากรวัยสูงอายุจำนวนมากที่สุด ประกอบด้วย 

เมื่อนำจำนวนประชากรวัยสูงอายุมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละซึ่งปรากฏตามแผนที่ในรูปที่ 4 โดยค่าข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งพบว่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะมีข้อมูลอยู่ในช่วงร้อยละ 12-26 (อยู่ในช่วงใกล้เคียงกับประชากรวัยเด็ก)

หากพิจารณาการกระจุกและกระจายตัวของข้อมูลร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะปรากฏตามรูปที่ 4 ซึ่งจังหวัดที่มีค่าข้อมูลอยู่ในกลุ่มค่ามากจะเป็นจังหวัดในภาคเหนือต่อเนื่องมถึงภาคกลาง   

 


ประชากรวัยแรงงาน

 

 

รูปที่ 5 แผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยแรงงานซึ่งมีอายุ 15-59 ปี แต่ละจังหวัด โดยแบ่งกลุ่มตามจำนวนประชากรวัยแรงงานเป็น 5 กลุ่ม พบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยแรงงานจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น ชลบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับ โดยจังหวัดที่มีประชากรวัยแรงงานจำนวนมากจะเกาะกลุ่มอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ในขณะที่นำจำนวนประชากรวัยแรงงานมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละจะปรากฏตามแผนที่ในรูปที่ 6 โดยค่าข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งพบว่าร้อยละของประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะมีข้อมูลอยู่ในช่วงร้อยละ 50-67 ส่วนการเกาะกลุ่มจะพบจังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดคือกลุ่มจังหวัดที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของประเทศไทยและลดลงมาเมื่อเป็นจังหวัดทางตะวันตกของประเทศไทย จะมีเพียง จังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดจำนวนมากแต่กระจายออกมาจากกลุ่ม คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง กระบี่ และภูเก็ต

 


ประชากรวัยพึ่งพิง (วัยเด็กรวมกับวัยสูงอายุ)

 

จากรูปที่ 7 แสดงจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงแต่ละจังหวัดของประเทศไทย พบว่าจังหวัดที่มีประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ นครราชสีมา อุบลราชธานี เชียงใหม่ ขอนแก่น และจังหวัดอื่น ๆ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการกระจายและกระจุกตัวของข้อมูลในพื้น พบว่ากลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมาก จะมีเพียงกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด(นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และอุดรธานี)เท่านั้นที่กระจุกตัวต่อเนื่อง 

สำหรับอันดับของจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงจังหวัดต่าง ๆ พบว่ากลุ่มที่ประชากรวัยพึ่งพิงจำนวนมากส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดย 10 อันดับแรก ประกอบด้วย 

หากพิจารณาจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงโดยเทียบเป็นร้อยละกับจำนวนประชากรทั้งหมดของจังหวัดแล้วนำข้อมูลมาจัดกลุ่มเป็น 3 กลุ่มโดยให้กลุ่มที่มีค่าข้อมูลใกล้เคียงกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันตามรูปที่ 8 จะพบว่ากลุ่มที่มีค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยพึ่งพิงเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดจะมี 3 กลุ่มใหญ่ในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ นอกจากนั้นจะกระจายตัวออกไปไม่เกาะกลุ่มชัดเจน ได้แก่ จังหวัดนครนายก สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช พัทลุง  

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจำนวนประชากรวัยเด็ก วัยสูงอายุ วัยแรงงาน หรือวัยพึ่งพิงก็ตาม ลักษณะการเกิดการมีอยู่ของจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่หากพิจารณาให้ความสำคัญของประชากรแต่ละกลุ่มในแต่ละประเด็นแล้ว (เช่น การให้ความสำคัญต่อประชากรวัยสูงอายุเนื่องจากการเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุ) คงต้องมีข้อมูล หลักเกณฑ์ต่าง ๆ หลักกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับมาพิจารณาประกอบอีกมากมาย ซึ่งในมุมนักภูมิศาสตร์แล้ว การนำเสนอข้อเท็จจริงเชื่อมโยงกับพื้นที่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้เกิดมุมมองและแง่คิดที่ชัดเจนขึ้นในอีกมิติหนึ่ง

อนึ่ง เมื่อพิจารณาให้ความสำคัญของประชากรแต่ละกลุ่มในแต่ละประเด็นและเจาะลึกลงไปในแต่ละพื้นที่แล้ว ในมิติทางภูมิศาสตร์คงต้องมีการนำเสนอข้อมูลด้านสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ การตั้งถิ่นฐาน ตลอดจนมิติทางสังคมอื่นๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนแปลงซึ่งจะได้นำเสนอในตอนต่อ ๆ ไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • แผนที่ หมายถึงสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งหมด หรือบางส่วนบนพื้นราบโดยการย่อส่วนและใช้สัญลักษณ์แทนรายละเอียดต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ การจำแนกประเภทแผนที่มีหลายวิธีการ

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เมื่อโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลส้ม การทำแผนที่ซึ่งต้องเป็นแผ่นราบใช้พกพา การย่อส่วนและการใช้สัญลักษณ์แสดงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกซึ่งต้องการความถูกต้องใกล้เคียงทั้งทิศทาง ระยะทาง รูปร่างและพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักภูมิศาสตร์ต้องสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมา 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
  • เอกสารการนำเสนอประกอบการสอนวิชา “GE737 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เนื้อหาการบรรยายที่มาของระบบ GIS Spatial data Database การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • หากพิจารณาแนวคิดของระบบ GIS โดยรวมๆแล้วนักวิชาการพยายามนิยาม ระบบ GIS” เป็น 3 แนวทางตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางพื้นที่ เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจเทคนิคการนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการ Classification Data รูปแบบต่างๆ รวมทั้งหลักการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางพื้นที่เบื้องต้น

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    เมื่อนำเอาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่มามองในมุมของความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่

     

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    บทความชุด มองข้อมูลประชากรในมิติของพื้นที่กับเวลาของนักภูมิศาสตร์คงบอกเล่ามุมมองของนักภูมิศาสตร์ได้ชัดขึ้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้455
เมื่อวานนี้530
สัปดาห์นี้1911
เดือนนี้7355
ทั้งหมด1193564
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 6

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com