ภัย พิบัติจากพายุ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล พายุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    หยดน้ำไหลออกมาจากรากต้นไม้ ทางน้ำเล็กๆ ซากใบไม้ทับถมและซับน้ำ กรองน้ำส่งลงพื้นราบ

    Fallen leaves, which absorb and filter water into the flat plains covered droplets cascade from tree roots and small waterways.

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ถ้าไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่มีอาหาร เพราะป่า เป็นต้นน้ำ ต้นกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เราควรรู้และเข้าใจป่า 

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • มวลสารที่อัดแน่นอยู่ระเบิดออกอย่างรุนแรง (Big Bang) ทำให้เกิดระบบสุริยจักรวาล

    อ่านเพิ่มเติม...
  • การรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ เป็นการเรียนรู้สภาพของอากาศในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตาม วัน เวลาและสถานที่ ส่วนการรู้เรื่องภูมิอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง

    Meteorology involves studying the ever-changing atmospheric conditions. In contrast, climatology focuses on studying long-term weather patterns.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ฤดูกาลของประเทศไทย: ปัจจัยเบื้องหลังสามฤดูกาลของประเทศไทย – ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

    Thailand season: The factor behind the three seasons of Thailand – summer, rainy and winter seasons

    อ่านเพิ่มเติม...
  • ปัจจัยที่ทําให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะการใช้ที่ดิน และลักษณะสภาพภูมิอากาศ

    The factors that cause landslide disasters are topographical features, geological and soil characteristics, land use characteristics, and climate characteristics.

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครได้พัฒนาระบบ GIS จนกระทั้งสามารถสนับสนุนงานของ กทม. ได้มากมายในปัจจุบัน

    อ่านเพิ่มเติม...
  • บทสรุป : ภูมิศาสตร์ศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนภารกิจช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  หลากหลายความเห็นจากนักภูมิศาสตร์และการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าพื้นที่

    อ่านเพิ่มเติม...
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

สารบัญ

 เมื่อประชากรไทยใกล้สิ้น ปี 2565 ตอนที่ 3 เปรียบเทียบประชากรไทย 3 ปี 4 วัย

จากข้อมูลประชากรของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เมื่อนำมาเชื่อมกับแผนที่แต่ละจังหวัด โดยแสดงเป็นแผนที่จำนวนประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) ประชากรวัยแรงงาน (อายุตั้งแต่ 15-59 ปี) ประชากรวัยสูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) และประชากรวัยพึ่งพิง (ประชากรวัยเด็กรวมกับประชากรวัยสูงอายุ) โดยแบ่งกลุ่มตามจำนวนเป็น 5 กลุ่ม แล้วนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 รวมทั้งนำจำนวนประชากรแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคำนวณเป็นค่าร้อยละต่อประชากรทั้งหมดและนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่ม และนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผลที่ปรากฏสามารถพิจารณาได้ดังนี้

 

เปรียบเทียบประชากรวัยเด็ก 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยเด็กซึ่งมีอายุน้อยกว่า 15 ปี แต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มตามจำนวนเด็กเป็น 5 กลุ่ม เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในช่วง ปี พ.ศ. 2556 – 2560 โดยในปี พ.ศ. 2560 จังหวัดชอนแก่น และบุรีรัมย์มีจำนวนประชากรเด็กลดลงอย่างชัดเจน (รูปที่ 1)

 

และเมื่อนำจำนวนประชากรเด็กมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ แล้วนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่มโดยเปรียบเทียบ 3 ปีเช่นเดิม (รูปที่ 2) พบว่า

 

ในปี พ.ศ. 2556 มีจังหวัดที่มีค่าร้อยละของประชากรเด็กจำนวนต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 20 % ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคใต้

ในปี พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2565 ร้อยละของจำนวนประชากรเด็กต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดจะลดลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป โดย ปี พ.ศ. 2565 ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และจังหวัดตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนประชากรเด็กต่อจำนวนประชากรทั้งหมดเปลี่ยนแปลงลดลงจากปี พ.ศ. 2560 อย่างชัดเจน

เมื่อนำเอาข้อมูลค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรรวมมาเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2556 2560 2565 พบว่าค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรรวมทุกจังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 3)

 

เมื่อนำเอาข้อมูลค่าร้อยละของประชากรวัยเด็กต่อประชากรรวมมาเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2556 กับปี 2565 แล้วนำมาเรียงลำดับตามค่าความแตกต่างมากไปน้อย (ตารางที่ 1) พบว่า 10 จังหวัดแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรวัยเด็กต่อประชากรทั้งหมดมาก ประกอบด้วย จังหวัดตาก ระนอง แม่ฮ่องสอน ภูเก็ต บึงกาฬ นครพนม กระบี่ ตรัง สมุทรสาคารและพังงา ซึ่งเป็นจังหวัดในภาคใต้ถึง 5 จังหวัด จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด และจังหวัดในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก ภาคละ 1 จังหวัด

 

เปรียบเทียบประชากรวัยแรงงาน 3 ปี

จากแผนที่แสดงจำนวนประชากรวัยแรงงานแต่ละจังหวัด แบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่มแล้วนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 (รูปที่ 4) พบว่าจำนวนประชากรวัยแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนหลายจังหวัด โดยเฉพาะถ้าพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2556 กับปี  2565 พบว่า กลุ่มจังหวัดในภาคเหนือที่มีจำนวนประชากรวัยแรงงานลดลง ได้แก่ จังหวัดลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ ส่วนภาคกลางและภาคใต้มีที่มีเพียงภาคละ 1 จังหวัดที่จำนวนประชากรวัยแรงงานลดลงอย่างชัดเจน คือจังหวัดลพบุรี และนครศรีธรรมราช ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าจังหวัดที่จำนวนประชากรวัยแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ได้แก่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง

เมื่อนำจำนวนประชากรวัยแรงงานมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดโดยคิดเป็นค่าร้อยละและนำมาแบ่งกลุ่มตามค่าร้อยละเป็น 3 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบ 3 ปี (รูปที่ 5) เช่นเดิม พบว่า

ปี 2556 มีเพียงจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพียงจังหวัดเดียวที่ค่าจำนวนประชากรวัยแรงงานต่ำกว่า 60 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในจังหวัด

ปี 2560 มี 3 จังหวัดที่ค่าจำนวนประชากรวัยแรงงานต่ำกว่า 60 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด

ปี 2565 มี 6 จังหวัดที่ค่าจำนวนประชากรวัยแรงงานต่ำกว่า 60 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ในขณะเดียวกันจังหวัดที่มีประชากรวัยแรงงานสูงกว่า 65 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด กับลดลงเมื่อเวลาเปลี่ยนไป ซึ่งจากแผนที่พบว่าในปี 2565 มีกลุ่มจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรวัยแรงงานสูงกว่า 65 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดปรากฏเกาะกลุ่มเด่นชัด ส่วนภาคอื่น ๆ พบว่ามีเพียง 8 จังหวัดที่มีประชากรวัยแรงงานสูงกว่า 65 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง กระบี่และภูเก็ต

 

 

 จากรูปที่ 6 แผนภูมิเปรียบเทียบค่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยแรงงานต่อประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดในปี 2556 2560 2565 พบว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไปจำนวนประชากรวัยแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในทุกจังหวัดจะค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง และจากรูปที่ 5 เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2556 กับ ปี 2565 พบว่าร้อยละของจำนวนประชากรวัยแรงงานต่อประชากรทั้งหมดจะลดลงอย่างชัดเจนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ภาคกลางและจังหวัดในภาคใต้ตอนบน

 

 

  •  

    หลังจากทดลองมาหลายรูปแบบหลายวิธีการเราจึงพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับครอบครัวซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา มีทั้งแชมพู น้ำยาล้างจาน และน้ำยาซักผ้า

    After experimenting with various formats and methods, we have identified a safe cleaning product suitable for families, catering to both children and older adults. The product range includes shampoo, dishwashing liquid, and laundry detergent.

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

    อ่านค่าเส้นชั้นความสูงจากแผนที่กระดาษเป็น 3 มิติ เรื่องง่าย ๆ เด็กก็เข้าใจได้...สไตล์อณุศร

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    เกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลหลากหลายมาตราส่วน เมื่อนำมาใช้วัดตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ ความสูง-ต่ำ และความลาดเอียงของพื้นผิวโลก

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • เมื่อผู้ใช้แผนที่กำหนดจุดยืนบนแผนที่แล้วต้องการเห็นภูมิประเทศข้างหน้าในแนวขวางเพื่อต้องการรู้ความสูงต่ำของภูมิประเทศ เห็นการบดบังสายตา เห็นความลาดชัน เนินหุบเขา และร่องน้ำในลักษณะของภาพหน้าตัด ซึ่งโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชุด 3 D สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว หากแต่เราไม่สามารถหาโปรแกรมและข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา

     

    อ่านเพิ่มเติม...
  • GIS เป็น แค่เครื่องมือ ในการนำเครื่องมือชนิดนี้ไปใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้หรือการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ควรศึกษาในบ้างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • ในการสร้างหรือแก้ไขชั้นข้อมูลในระบบ GIS สิ่งที่ต้องระวังและควรรับรู้ก็คือที่มาของแผนที่ฐาน เนื่องจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบ Digital การย่อ ขยายเพื่อปรับแก้ข้อมูลทำได้ง่ายแต่คลาดเคลื่อนผิดพลาดตามค่าตั้งต้น

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  • แนวคิดการนำระบบ GIS ประยุกต์ใช้งานในภารกิจที่รับผิดชอบ เนื้อหาการบรรยายเน้นอธิบายให้เข้าใจถึงวิธีคิดในการประยุกต์ใช้ระบบ GIS สำหรับงานในภารกิจที่รับผิดชอบ โดยยกตัวอย่างการออกแบบและขบวนประยุกต์ใช้งานทุกขั้นตอน

    อ่านเพิ่มเติม...
  •  

     เมื่อการเพิ่มขึ้น-ลดลงของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ในภาษานักประชากรศาสตร์ถูกอธิบายบนพื้นที่แบบนักภูมิศาสตร์

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •  

    ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2555 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2559

    อ่านเพิ่มเติม...
     
  •   

    สิ่งที่ปรากฏข้างหน้า...เขาหัวโล้นที่ปรากฏเด่นชัด...ป่าต้นน้ำหายไปไหนเป็นคำถามที่ผุดขึ้นในสมอง

    The prominent feature ahead is a mountain with very few remaining trees. Where has the vanished watershed forest gone?

    อ่านเพิ่มเติม...

ผู้เยี่ยมชม GEO2GIS.com

วันนี้58
เมื่อวานนี้579
สัปดาห์นี้1241
เดือนนี้11633
ทั้งหมด1472560
สมาชิก log in ขณะนี้ 0
Online ขณะนี้ 5

JSN Epic is designed by JoomlaShine.com